กรณีพิพาทอินโดจีน นับว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรสยามและสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2436โดยครั้งนั้นถือเป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งที่ถือว่ารุนแรงถึงขั้นวิกฤตเลยทีเดียวที่ส่งผลกระทบต่อเอกราชและอธิปไตยของชาติได้ และความขัดแย้งครั้งนี้ได้ส่งอยู่ตลอดจนผ่านช่วงเวลาที่ต่อเนื่อง ต่อไปอีกกว่าห้าสิบปีจนกระทั่งได้สิ้นสุดสงครามโลกครั้ง ครั้งที่ 2 เนื่องด้วยต้นสายปลายเหตุนั้น เริ่มจากความพิพาทในแนวชายแดนด้านตะวันออกของประเทศสยามกับพื้นที่ในการครอบครองของประเทศฝรั่งเศสบนคาบสมุทร อินโดจีนซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตของประเทศลาวในปัจจุบันนั่นเอง และชนวนนี้ได้ขยายผลสู่การสู้รบกันที่ปากน้ำเจ้าพระยา มีการสู้รบทางทะเล และมีการปิดอ่าวสยาม ทั้งยังเกิดความเดือดร้อนขึ้นในวงกว้างที่ไม่ใช่เฉพาะประเทศสยามเท่านั้น แต่ยังได้เป็นชนวน ให้เหล่ามหาอำนาจทางทะเลอย่างอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาต้องมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง กับกรณีกรณีพิพาทอินโดจีน ดังกล่าวด้วย ทั้งเพื่อปกป้องมหามิตรและพิทักษ์ถึงผลประโยชน์ ของฝ่ายตนบนแผ่นดินสยามในครั้งนั้น
สาเหตุของสงคราม กรณีพิพาทอินโดจีน
เกิดขึ้นในระหว่างเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่รัฐบาลไทยได้ร้องขอไปเพื่อให้มีการปรับปรุงเส้นแบ่ง เขตแดนทางด้านอินโดจีนให้เป็นไปตามหลักสากล ระหว่างสยามประเทศกับฝรั่งเศส แต่ทางฝรั่งเศส ไม่ยินยอม ทั้งยังส่งเครื่องบินรบมาทิ้งระเบิดลงที่จังหวัดนครพนมอีกด้วย ทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้น ทั้งสองฝ่าย ทำให้รัฐบาลไทยจึงเตรียมพร้อมที่จะต้องเผชิญหน้ากับ ฝรั่งเศสเพื่อแก้ไขในเรื่องของ ดินแดนให้จบลงโดยเด็ดขาด โดยมีการจัดเตรียมของกำลังกองทัพบกสนาม ที่ประกอบด้วย กองทัพอีสาน กองพลพายับ กองผลผสมปักษ์ใต้ กองทัพบูรพา และกองผลผสมกรุงเทพฯ นั่นเอง
ผลที่เกิดขึ้นหลังจากกรณีพิพาท
กรณีพิพาทอินโดจีน ที่หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำการเจรจาตกลงกันได้ลงตัวแล้วนั้น ก็ได้มีการทำสัญญาสงบศึกกันระหว่างรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับทางรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยลงเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2436 ซึ่งโดยสาระสำคัญอันเป็นข้อกำหนด ที่ฝรั่งเศสได้ตั้งขึ้นมาเอง เช่น ให้ประเทศสยามนั้นยอมสละถึงข้ออ้างทั้งปวงที่ว่า มีกรรมสิทธิอยู่ ทางเหนือดินแดนทั่วไปถึงทางฝั่งซ้ายของบริเวณแม่น้ำโขง และในพื้นที่บรรดาเกาะทั้งหลาย ในแม่น้ำนั้น ห้ามไม่ให้มีเรือติดอาวุธของสยามไว้ใช้ หรือเดินเรือไปมาได้ในน่านน้ำของทะเลสาบ และของแม่น้ำโขงด้วย และรวมถึงลำน้ำที่แยกจากแม่น้ำโขง ไม่ทำการสร้างค่ายหรือที่ตั้งกองการทหารไว้ในเมืองพระตะบอง และที่เมืองนครเสียมราฐ และบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงในรัศมี 25 กิโลเมตร โดยให้บุคคลที่มีสัญชาติฝรั่งเศสก็ดี บุคคลในบังคับหรืออยู่ในปกครองของฝรั่งเศสก็ดี จะไปมาหรือค้าขายก็ทำได้โดยเสรี ขออารักขา เมืองจันทบุรี ให้ลงโทษบุคคลที่เกี่ยวข้องที่เป็นต้นเหตุแห่งการสูญเสียชีวิตของทหารฝรั่งเศส ในเมืองคำม่วนโดยให้มีคนของฝรั่งเศสนั้นได้เข้าร่วมพิจารณาตัดสินด้วย และที่สำคัญ ของกรณีที่เกิดความยุ่งยากในการตีความหมายของสัญญาฉบับนี้ให้ใช้ฉบับที่เป็นภาษาฝรั่งเศส
เท่านั้น
และผลของสัญญาสงบศึก ที่นอกจากจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝรั่งเศส เป็นเงินจำนวนถึง สามล้านฟรังก์แล้ว ยังได้ผูกพันให้ประเทศสยามต้องเสียอธิปไตยในบริเวณแม่น้ำโขงในเวลาต่อมา ซึ่งรวมเป็นพื้นที่ประมาณ 143,000 ตารางกิโลเมตร และทางฝรั่งเศสยังได้ยึดเมืองจันทบุรี ไว้ในอารักขาของตัวเองนานกว่าสิบปี (ระหว่างปี พ.ศ. 2436 – 2447) โดยจนกว่าสยามจะชดใช้ ค่าเสียหายจนครบ
ทั้งนี้กรณีพิพาทนี้ได้กลายมาเป็นชนวนของสงครามความขัดแย้งขึ้นอีกครั้งที่บนคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2 โดยมีจักรวรรดิ์ญี่ปุ่นเข้าร่วมกับวงศ์ไพบูลย์ด้วยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามมหาเอเซียบูรพา
และนี่ก็เป็นเรื่องราวโดยสรุปของกรณีพิพาทอินโดจีน ที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองระหว่า สยามประเทศและทางฝรั่งเศส ที่ถือว่าเป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทยที่ตึงเครียดและมีการสูญเสีย ที่มากมายเลยทีเดียว ทั้งการเสียดินแดนของสยามไปในบางส่วนและค่าชดใช้ในจำนวนมหาศาล อีกด้วย
แหล่งที่มา : กรณีพิพาทอินโดจีน,article_23602