
คณะราษฎร กลุ่มคนเล็กๆ กับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ของไทย นั้นมีความเป็นมาอย่างไรนั้น วันนี้เราจะบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้กัน เนื่องจากช่วงนี้ได้มีการก่อม็อบประท้วงขึ้นอีกครั้งของกลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงานเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวไทย และได้มีการนำชื่อ หรืออ้างอิงชื่อของ
คณะราษฎร ขึ้นมาให้เราได้เห็นกัน สำหรับหลาย ๆ คนที่อาจจะยังไม่รู้ว่า คณะราษฎร นี้เป็นใคร ทำอะไรกันบ้าง และมีความสำคัญอย่างไรถึงได้เป็นกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงประเทศชาติได้อย่างใหญ่หลวง
วันนี้เรามีข้อมูลมาให้คุณแล้ว
ย้อนกลับไปในช่วงหนึ่งกับเหตุการสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย ด้วยการมีการตั้ง “คณะราษฎร” ขึ้นมา ซึ่งคณะราษฎร นี้ก็คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยาม(ประเทศไทย)เมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจมาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในแบบของราชอาณาจักรสยาม (ชื่อของประเทศไทยในสมัยนั้น) จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เปลี่ยนเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งคณะราษฎรที่ก่อตั้งโดยกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาทหาร ที่ได้ศึกษาและทำงานอยู่ในทวีปยุโรป ซึ่งมีเป็นกลุ่มคนที่มีแนวคิดสนับสนุนการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย เนื่องจากมองเห็นว่าการปกครองประเทศในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น มีความล้าสมัยเกินไป และไม่อาจที่จะนำพาให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าได้ ไม่ว่าจะเป็นด้วยปัญหา ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่ไม่ได้รับการแก้ไขในระบอบของการปกครองรูปแบบเดิม จึงเชื่อมั่นว่า หากประเทศมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นรูปแบบใหม่แล้ว จะสามารถแก้ไข ถึงปัญหาดังกล่าวได้และนำพาให้ประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว ทัดเทียมอารยประเทศ ทางฝั่งตะวันตกได้ ประกอบกับบุคคลของกลุ่มนี้ ได้รับอุดมการณ์ทางการเมืองในรูปแบบใหม่มา ในระหว่างที่กำลังศึกษาและทำงานต่างประเทศอีกด้วย
การเริ่มต้นเหตุการณ์ของ คณะราษฎร
เหตุการณ์ปฏิวัติสยาม เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย ที่สำคัญเหตุการณ์หนึ่ง ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาอย่าง ช้านานได้เสียอำนาจส่วนใหญ่ไป อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเหตุการณ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน พ.ศ. 2475 นั้นการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศไทยก็ยังมิได้จบลงไปอย่างสิ้นเชิง จะยังคงมีการต่อสู้ กันระหว่างผู้นำในระบอบเก่า กับกลุ่มระบอบใหม่ หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในผู้นำคณะราษฎร ด้วยกันเอง จนถึงรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 ถือได้ว่าเป็นการล้างอำนาจที่มีทางการเมือง ของคณะราษฎร ไปเสียสิ้น
สมาชิกของกลุ่มที่ได้มีการก่อตัวของคณะราษฎร
คณะราษฎร ในช่วงแรกประกอบด้วยจำนวนสมาชิกรวมทั้งสิ้น 7 คน ได้แก่
1. นายปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฎหมาย ในประเทศฝรั่งเศส
2. ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ นักเรียนวิชาทหารปืนใหญ่ ในประเทศฝรั่งเศส
3. นายแนบ พหลโยธิน นักเรียนวิชากฎหมาย ในประเทศฝรั่งเศส
4. ร้อยตรี ทัศนัย มิตรภักดี นักเรียนวิชาทหารม้า ในประเทศฝรั่งเศส
5. ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ในประเทศฝรั่งเศส
6. นายตั้ว ลพานุกรม นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
7. นายจรูญ สิงหเสนี ผู้ช่วยราชการสถานทูตสยามในประเทศฝรั่งเศส
ก่อนการปฏิวัติ (พ.ศ. 2469 – 2475)
พ.ศ. 2469
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ – มีการตั้งคณะราษฎร และมีการประชุมครั้งแรกขึ้นที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมมี 7 คน การประชุมกินเวลานาน 5 วัน และได้ลงมติให้ปรีดี พนมยงค์เป็นประธาน และหัวหน้าคณะราษฎรไปก่อนที่จะมีผู้ที่เหมาะสม
พ.ศ. 2474
วันที่ 19 มิถุนายน – เหตุการณ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากที่มีความขัดแย้งกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต อภิรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเหตุการณ์นี้ได้เปิดโอกาสอย่างมากให้แก่แผนการของคณะราษฎร
พ.ศ. 2475
วันที่ 12 มิถุนายน – กลุ่มคณะราษฎร ได้มีการวางแผนการที่บ้าน ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี เพื่อจะดำเนินการควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่เป็น ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร
วันที่ 24 มิถุนายน – คณะราษฎร ได้ประกาศถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในการปฏิบัติการครั้งนั้น มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะราษฎร
และนี่ก็เป็นเรื่องราวของกลุ่ม คณะราษฎร ที่เป็นเพียงกลุ่มคนเล็กๆ มีสมาชิกอยู่เพียงแค่ 7 คน ในตอนแรกเริ่ม จนได้มีการวางแผนกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของไทย ได้อย่างมาก อันส่งผล มาถึงการเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน และเป็นต้นแบบให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันอย่างมากอีกด้วย
แหล่งที่มา :
อ่านต่อที่ สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นจากอะไร ทำไมถึงเกิดขึ้นกันนะ