เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินและเห็นข้อความหัวเรื่องแบบนี้มาหลายครั้งแล้ว ที่ว่าด้วยการ สังหารหมู่ที่ นานกิง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือหลายเล่มหลายการตีพิมพ์จากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป ซึ่งก็นับว่าเป็นเหตุการเลวร้ายที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย ว่าเหตุการณ์นี้มีผลกระทบอย่างไร ส่งผลอย่างไร
ซึ่งเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ นานกิง นี้เองก็เป็นข้อถกเถียงกันในประเทศญี่ปุ่นอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ควรเอ่ยถึงหรือไม่ หรือควรลบเลือนให้หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น แต่ถึงแม้ว่าข้อสรุปทางฝั่งญี่ปุ่นจะเป็นอย่างไรนั้น ก็ไม่อาจลบภาพเหล่านี้ไปจากสายตาคนทั้งโลกได้ แล้วเหตุการณ์ที่เป็นดังฝันร้ายครั้งนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เกิดอะไรขึ้นบ้างนั้น เชิญอ่านต่อข้างล่างนี้ได้เลย
จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ นานกิง
เหตุการณ์สังหารหมู่ที่ นานกิงนั้นเริ่มขึ้นจากสงครามระหว่างประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มขึ้นอย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 7 เดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480) จากการปะทะกันอย่างเต็มกำลังของทั้งสองฝ่ายที่สะพานมาร์โคโปโล หลังจากที่รัฐบาลจีนโดยคณะชาติพยายามที่จะต่อต้านการขยายอิทธิพลของจักรวรรดิญี่ปุ่นบริเวณ
เหนือดินแดนจีนซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1931 (พ.ศ. 2474)
แต่กองทัพจีนคณะชาติก็จำเป็นต้องถอยร่นจากการรุกรานของของทัพญี่ปุ่นต่อเมืองใหญ่ตั้งแต่เมืองเทียนจิน เรื่อยมาถึงเมืองปักกิ่ง และเมืองเซี่ยงไฮ้ ต่อมา ถึงเดือนในช่วงพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480) กองทัพจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นก็เริ่มรุกเข้าทำการการโจมตีกรุงนานกิง (หนานจิง) ที่เมืองหลวงของรัฐบาลจีนคณะชาติในช่วงเวลาขณะนั้นและสามารถเข้ายึดครองกรุงนานกิงได้สำเร็จ ในวันที่ 13 เดือนธันวาคม ในปีเดียวกันนั่นเองการบุกยึดนานกิงครั้งนั้นของกองทัพญี่ปุ่นที่อยู่ภายใต้การควบคุมทัพของ อิวาเนะ มัทซึอิ (Iwane Matsui) ซึ่งก็ใช้เวลาภายในระยะสั้น ๆ เพียงไม่กี่สัปดาห์นับแต่กองกำลังของญี่ปุ่นสามารถยึดครอง กรุงนานกิงได้สำเร็จ พวกเขาได้ทำการสังหารประชาชนและพลเรือนทั่วไปลงอย่างโหดเหี้ยมและทารุณ ตั้งแต่การจับผู้คนนับหมื่น ๆ มากราดยิงที่กลางเมือง การใช้คนเป็น ๆ มาเป็นเป้าในการซ้อมแทง ดาบปลายปืน หรือการเผาชาวนานกิงทั้งเป็น ทำให้กรุงนานกิง นั้นเต็มไปด้วยซากศพอยู่นานนับเดือน
คำบอกเล่าของผู้รอดชีวิตจากการสังหารหมู่ที่ นานกิง
บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยผ่านเหตุการณ์นั้นมาอย่าง เซี่ยชูฉิน ผู้ที่เกิดเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1929 ในเมืองนานกิง ได้เล่าให้ฟังว่า ว่าพ่อและปู่ย่าของเธอนั้นถูกทหารญี่ปุ่นยิงจนเสียชีวิตอย่าง ไร้ความปราณี พี่สาวของเธอก้ถูกทำร้ายจนตาย แม่และพี่สาวสองคนนั้นได้ถูกทหารญี่ปุ่นรุมข่มขืน และสังหาร ส่วนเซี่ยชูฉินที่ตอนนั้นมีอายุเพียง 8 ปี เท่านั้น จึงรอดชีวิตโดยหลังจากหมดสติไป เพราะถูกแทงเข้าที่ตัวสามครั้ง “ฉันถูกแทงตรงนี้ ตรงนี้ และตรงนี้ หลังจากหมดสิต ฉันตื่นมาพร้อมเลือดที่ท่วมฝ่ามือและลำตัว ตอนนั้นฉันรู้สึกหนาวและเจ็บปวดมาก น้องสาวอีกคนวัย 4 ขวบที่ซ่อนอยู่ใต้ผ้าห่มอยู่นั้น กำลังร้องไห้หาแม่ของเรา มันเป็นภาพความทรงจำที่เจ็บปวดมากในทุกครั้งที่นึกถึงเลย” นี่เป็นคำบอกเล่าจากเซี่ย
ความเลวร้ายที่ยากจะลืมเลือน
ไม่เพียงแต่ชาวบ้านเท่านั้นที่มีจุดจบอันโหดร้าย เหล่าพลเรือนและทหารจีนที่ไร้ซึ่งอาวุธกว่า 50,000 ราย ที่ประจำการในช่วงเวลานั้นยังถูกผู้รุกรานชาวญี่ปุ่นนี้ รุมล้อมและเข้าสังหารขณะที่กำลัง รอข้ามแม่น้ำ บริเวณริมตลิ่งอันเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถาน เหยื่อริมแม่น้ำเหยียนจือจี (Yanziji Riverside Victims Monument) ในปัจจุบันนี้เอง กับความหดหู่ที่ว่า “พลเรือนเหล่านี้ไม่ได้มีอาวุธ และไม่ได้รับการฝึกฝนมาเลย พวกเขาไม่สามารถต้านทานกับความโหดร้ายของทหารชาวญี่ปุ่นได้” จิ้งเซิ่งหง ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยครูนานกิง ได้กล่าวเอาไว้
เหตุการสังหารหมู่นานกิง นี้ได้มีการรวบรวมแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารหมู่เอาไว้มากกว่า 10,000 ชิ้น โดยเก็บไว้ที่อนุสรณ์สถานเหยื่อเหตุการณ์สังหารหมู่นานกิง ซึ่งทั้งนี้ก็รวมถึงบันทึกของ ผู้รอดชีวิตและเหยื่อต่าง ๆ ตลอดจนคำให้การจากเหล่าพยานบุคคลที่สามต้วนเย่ว์ผิง ที่เป็นอดีตรองภัณฑารักษ์อนุสรณ์สถานฯ ได้ระบุว่า “เรารวบรวมข้อมูลมากกว่า 5 ล้านคำ และภาพของการสังหารหมู่ที่มากกว่า 100 ภาพ และเรายังเสาะหาหลักฐานเจอจากผู้รอดชีวิตมากกว่า 2,700 คนอีกด้วย” ขณะเดียวกันนี้เองก็มีการจัดแสดงภาพถ่ายของผู้รอดชีวิต จากเหตุการณ์สังหารหมู่นานกิง โดยเมื่อใดก็ตามที่เหยื่อเหล่านี้จากไป ไฟด้านหลังของภาพนั้ยก็จะดับลง ปัจจุบันอนุสรณ์สถานฯ กลายเป็นสถานที่เอาไว้เรียนรู้เรื่องราวในอดีตเพื่อสำหรับชาวจีนรุ่นหลัง โดยคนหนุ่มสาวจำนวนมากยังคงเดินทางไปเยี่ยมชมอนุสรณ์สถานฯ นี้อยู่เรื่อย ๆ เพื่อทำความเข้าใจถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์สังหารหมู่ที่นานกิง นี้
เป็นอย่างไรกันบ้างกับมุมมองการต่อเหตุการณ์สังหารหมู่ นานกิง นี้ นับว่าทารุณและโหดร้ายอย่างมาก แต่ถึงอย่างไรก็เป็นอดีตที่ผ่านมาแล้ว เหตุการณ์มีไว้เรียนรู้แต่ไม่ควรนำมาเป็นความโกรธแค้นใด ๆ ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงต่าง ๆ ในภายภาคหน้านะครับ
แหล่งที่มา : article_85586,160424_20201214
อ่านต่อที่ เหตุการณ์สำคัญ
Credit : สถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศ, สถานที่ท่องเที่ยวในไทย, ของเล่น, ของใช้ผู้ชาย, แต่งงาน