ปฏิทินของไทยที่ใช้ในปัจจุบันมีจุดเริ่มต้นมาจากอะไร และก่อนหน้านั้นในสมัยโบราณปฏิทินของไทยมีใช้หรือไม่อย่างไร และ รัตนโกสินทร์ศก คืออะไร และปฏิทินที่ใช้ในไทย วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับปฏิทินไทยที่ใช้มาแต่โบราณ รัตนโกสินทร์ศก เป็นอย่างไร ไปดูกัน
1. ไปทำความรู้จักกับ ม.ศ. จ.ศ. ร.ศ. และ พ.ศ.
อับดับแรกเราจะมาทำความรู้จักตัวย่อของ ม.ศ. จ.ศ ร.ศ. และ พ.ศ. กันก่อน ว่าตัวย่อแต่ละตัวนั้นแปลว่าอะไรและมีความหมายว่าอะไร แต่ก่อนจะไปรู้จักตัวย่อของแต่ละตัวเราไปรู้จักกับคำว่า ศักราชกันก่อน
คำว่า ศักราช นั้นคือสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้เป็นการสมมติ
ตามแหล่งที่มา โดยมีการนับเวลาออกเป็นปี เพื่อที่จะได้รู้ถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และเหตุการณ์ไหนเกิดขึ้นก่อนหรือเหตุการณ์ไหนเกิดขึ้นทีหลังนั้นเป็นเวลานานต่างกันเท่าใด
ม.ศ. หรือแปลว่า มหาศักราช เป็นศักราชที่ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัย และเป็นศักราชที่กำหนดขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะ แห่งประเทศอินเดีย ซึ่งเริ่มการนับปีที่พระองค์มีชัยชนะต่อแว่นแคว้น ใน พ.ศ. 622 เป็นปีแรกของมหาศักราช โดยเรียกว่า มหาศักราชที่ 1 ซึ่งมหาศักราชที่ 1 นี้เกิดขึ้นทีหลัง พ.ศ. จำนวน 621 ปี และได้เข้ามาเผยแพร่ในย่านกรุงสุโขทัยพร้อมกับอารยธรรมของอินเดีย ซึ่งหลักฐานนี้ได้ปรากฎในศิลาจารึก
จ.ศ. แปลว่า จุลศักราช ซึ่งตั้งขึ้นหลังจากที่สังฆราชบุตุโสระหัน แห่งพม่า ได้สึกออกมารบและชิงบัลลังก์ได้ในปี พ.ศ. 1182 ได้มีการนำมาเผยแพร่ที่กรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้งเสียเมืองไปในครั้งที่ 1 ซึ่งระหว่างนั้นพม่าและกรุงศรีอยุธยาได้มีการติดต่อกันในฐานะประเทศราช ทำให้จุลศักราชนำมาใช้ในกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2112 ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 และได้โปรดเกล้าฯให้ใช้รัตนโกสินทร์ศกแทนจุลศักราช
ร.ศ. แปลว่า รัตนโกสินทร์ศก เป็นศักราชที่รัชกาลที่ 5 ทรงตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2432 โดยใช้ปีที่รัชกาลที่ 1 ของไทยแห่งราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีใน พ.ศ. 2325 นับเป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ 1 โดยปีที่ประกาศใช้นั้นเป็น ร.ศ. 108 และใช้ ร.ศ. เป็นเวลาเพียง 24 ปี ก็ได้สิ้นสุดลงใน ร.ศ. 131 โดยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนมาใช้ พ.ศ. แทน
พ.ศ. แปลว่า พุทธศักราช เป็นศักราชที่เริ่มใช้มาหลังจากที่รัชกาลที่ 6 ประกาศให้มีการใช้พุทธศักราช เพื่อที่จะได้เข้าใจง่ายและพุทธศักราชก็เป็นที่นิยมใช้ทั่วไปกับประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะนิยมใช้กับศาสนา และได้ใช้ พ.ศ. เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
2. ประวัติปฏิทินไทย
ในสมัยสุโขทัย ได้ใช้ปฏิทินจันทรคติ และปีที่นับก็เป็นปีมหาศักราชตามที่ปรากฎในศิลาจารึก จนมาถึงสมัยพญาลิไท สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้เปลี่ยนมาใช้จุลศักราช ใช้วันเถลิงศกหรือวันพระญาวัน เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ก็ยังคงใช้ปฏิทินจันทรคติอยู่ แม้ทางราชการจะใช้ปฏิทินจันทรคติแต่ทางสงฆ์ยังใช้เทียบปีแบบพุทธศักราช
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาเป็นปฏิทินสุริยคติแบบสากลตามปฏิทินเกรกรอเรียนแทน ใน จ.ศ. 1240 ตรงกับปี พ.ศ. 2431 ซึ่งได้กำหนดให้หนึ่งปีมี 12 เดือน โดยแต่ละเดือนจะมี 28-31 วัน และได้ให้กรมพระยาเทววงศ์วโรปการได้ตั้งชื่อของเดือนทั้ง 12 เดือน โดยเริ่มเดือนแรกคือเดือนเมษายน ไปสิ้นสุดเดือนมีนาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปี แต่ยังคงใช้รัตนโกสินทร์ศกเป็นชื่อปี โดยเริ่มใช้ 1 เมษายน ร.ศ. 108 แทนโดยกำหนดแบ่งให้หนึ่งปีมี 12 เดือน และในแต่ละเดือนจะมี 28-31 วันตามปฏิทินสากล ทรงให้กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ตั้งชื่อเดือน ได้แก่ เดือนแรกของปีคือเดือนเมษายน จนถึงเดือนสุดท้ายของปี คือเดือนมีนาคม ซึ่งยังคงใช้รัตนโกสินทร์ศก เป็นชื่อปีและใช้มาอย่างเป็นทางการ โดยใช้ 1 เมษายน ร.ศ. 108 แทนที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 และได้เลิกใช้ปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 131 แล้วจึงเปลี่ยนใช้ปีพุทธศักราชแทน ซึ่งปีพุทธศักราชที่ใช้นั้นก็คือ พ.ศ. 2456
และสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ปรับเปลี่ยนปฏิทินอีกครั้ง ซึ่งการปรับเปลี่ยนในครั้งนี้เป็นการปรับให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่และวันเริ่มต้นปี ตามหลักสากลให้เริ่มใช้เหมือนนานาประเทศ และเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2484 ซึ่งได้ตัดเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคมของปี 2483 ออกไป โดยเริ่มเป็นเดือนมกราคมปี 2584 ซึ่งทำให้ในปฏิทินปี 2483 ไม่มีสามเดือนดังกล่าว และใช้ปฏิทินในรูปแบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน
3. ปฏิทินจันทรคติไทย
ปฏิทินจันทรคติไทย (Thai lunar calendar) คือ ปฏิทินที่ใช้การนับตามคติของการโคจรของดวงจันทร์ โดยสังเกตการจากปรากฎการข้างขึ้นและข้างแรม ซึ่งสมัยโบราณนั้นยังคงเป็นการใช้รัตนโกสินทร์ศกอยู่ช่วงหนึ่งในปฏิทินสมัยรัชกาลที่ 5 และปฏิทินจันทรคติไทยนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
ปฏิทินจันทรคติราชการ หรือปฏิทินหลวง เป็นปฏิทินที่ใช้มาตั้งแต่โบราณกาล โดยกำหนดรูปแบบของปีทางจันทรคติด ซึ่งสูตรที่ใช้ในการคำนวณนั้นยังไม่มีสูตรที่คำนวณที่ชัดเจนและตายตัว ซึ่งใช้เป็นปฏิทินจันทรคติราชการทั่วไป และพระสงฆ์ไทยในคณะนิกายมหายาน
ปฏิทินจันทรคติปักขคณนา เป็นแบบที่มีการประดิษฐ์ขึ้นมาโดยใช้สูตรการคำนวณที่ชัดเจนและแน่ชัดและมีความแม่นยำตามธรรมชาติกว่าแบบราชการ และได้นำมาใช้ในพระสงฆ์ไทยและคณะธรรมยุติ ซึ่งรัชกาลที่ 4 เป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมา
4. ปฏิทินสุริยคติไทย
ปฏิทินสุริยคติไทย คือ ปฏิทินที่ถือใช้อย่างเป็นทางการของไทยในปัจจุบัน โดยได้ปรับมาใช้เมื่อ พ.ศ. 2431 หรือจุลศักราช 1240 เพื่อใช้แทนปฏิทินแบบจันทรคติไทย และมีการใช้รัตนโกสินทร์ศกอยู่ช่วงเวลาหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยระบบปฏิทินสุริยคตินี้ได้อ้างวันเดือนปีที่ตรงตามปฏิทินเกรกอเรียน โดยมีจำนวนเดือน 12 เดือน และจำนวนวัน 365 วันหรือ 366 วันในแต่ละปี ซึ่งชื่อของเดือนทั้ง 12 เดือนที่เป็นภาษาไทยนั้นได้รับการตั้งชื่อโดยกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ
และในปฏิทินไทยนั้นจะมีการระบุปีปฏิทินแบบสุริยคติเป็นตัวหลักโดยแสดงเป็นรูปแบบปีพุทธศักราช และหลาย ๆ ปฏิทินมักจะมีการแสดงให้เห็นถึงวันพระ วันข้างขึ้น และวันข้างแรม และวันสำคัญทางพุทธศาสนา แสดงวันเดือนปีของแต่ละเดือน โดยตัวเลขที่ระบุในปฏิทินอาจเป็นทั้งตัวเลขอารบิกหรือตัวเลขไทย และปีของจีนตลอดจนคริสต์ศักราชที่แสดงคู่กันของพุทธศักราชในปฏิทิน
5. การใช้ปฏิทินในประเทศไทย
วันที่ 14 มกราคม 2385 เป็นการตีพิมพ์ปฏิทินที่ใช้ในประเทศไทยครั้งแรก ในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ถือว่าวันที่ 14 มกราคมของทุกปีเป็นวันสำคัญอีกหนึ่งวันที่ควรจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยได้ใช้ปฏิทินที่พิมพ์ออกมาเป็นครั้งแรก โดยมีหลักฐานจากไมโครฟิล์มของหนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870 หน้าที่ 5 ซึ่งหมอบรัดเลย์ได้เขียนเอาไว้ในหนังสือว่า 14 First Calendar print in B. 1842 ซึ่งไม่ได้ระบุว่าใครเป็นคนพิมพ์ แต่คาดเดาว่าน่าจะเป็นหมอบรัดเลย์เองเพราะเป็นเจ้าของโรงพิมพ์และมีผลงานทางหนังสือหลายเล่มมากมาย
และหลังจากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการพิมพ์ปฏิทินภาษาไทย เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2404 ซึ่งได้มีหลักฐานปรากฎในหนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ในหน้าที่ 108 ฉบับปี ค.ศ. 1862
และปฏิทินที่พิมพ์ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 5 แม้ว่าในช่วงนี้อาจมีการใช้ปฏิทิน รัตนโกสินทร์ศก อยู่ช่วงหนึ่งก็ตามนั้นก็คือ ประนินทิน ซึ่งได้ลงโฆษณาไว้ในหนังสือสยามไสมย ของ หมอสมิท ราคาขายในสมัยนั้นเล่มละ 4 บาท ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่สามารถหาประนินทินของหมอสมิทเจอ
และปฏิทินได้มีการพัฒนาการรูปแบบของปฏิทินในรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นที่น่าดึงดูดใจให้กับผู้ที่พบเห็นได้เนื่องจากมีการดีไซน์ปฏิทินในรูปแบบพกพาเป็นเล่มที่มีขนาดเล็ก เพื่อให้เป็นของที่ระลึก และแจกพระราชทานแก่ขุนนางที่ได้ร่วมถวายพระพรลงนามอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่
และในการพิมพ์ปฏิทินก็ได้จัดทำเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และยังได้เพิ่มรายละเอียดเนื้อหาของสภาพอากาศ เวลาขึ้นลงของน้ำ หรือแม้กระทั่งการเดินทางของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และนอกจากนี้ยังมีในรูปแบบของสมุดบันทึกอีกรูปแบบหนึ่งโดยเรียกว่า ไดอารี่ ซึ่งก็ได้มีปฏิทินไว้ในสมุดบันทึกด้วย ซึ่งปฏิทินในไดอารี่เริ่มใช้เมื่อไหร่อย่างไรนั้นยังไม่มีหลักฐานระบุชัดเจน และปัจจุบันได้มีการตีพิมพ์ปฏิทินออกมาทั้งของหน่วยงานรัฐและเอกชน ที่มีทั้งแจกฟรี และจำหน่ายให้กับประชาชนซื้อไว้เป็นของขวัญวันขึ้นปีใหม่ซึ่งก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละหน่วยงาน
เป็นอย่างไรกันบ้างกับปฏิทินไทยแต่โบราณ ซึ่งได้มีการใช้ปฏิทินในการกำหนดเวลาที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในแต่ละสมัย ซึ่งได้มีการพัฒนาเรื่อยมา โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ มหาศักราช จุลศักราช รัตนโกสินทร์ศก และพุทธศักราชซึ่งใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีการพัฒนาให้ทันยุคทันสมัยและใช้ปฏิทินที่เป็นสากลที่ใช้กันทั่วโลก หวังว่าหลายคงจะเข้าใจคำว่ารัตนโกสินทร์ศกกันมากขึ้น และได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของปฏิทินตลอดจนการใช้ปฏิทินในแต่ละยุคสมัยและรวมถึงเข้าใจปฏิทินจันทรคติไทยและปฏิทินสุริยคติไทยด้วยเช่นกัน
อ่านบทความ ประวัติศาสตร์สุโขทัย จุดเริ่มต้นอาณาจักรและลำดับ การปกครอง ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
เครดิตรูป
bookandbox
silpamag