ประเทศจีนนั้นถือเป็นประเทศที่มีอารยธรรมมาอย่างยาวนานมากที่สุดประเทศ หนึ่งก็ว่าได้ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้าได้นั้นบ่งชี้ว่าอารยธรรมจีน เกิดขึ้น และมีอายุถึง 5,000 ปี โดยรากฐานสำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้าง ระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดของลัทธิขงจื๊อขึ้นมา ประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช ประวัติศาสตร์จีน มีทั้งช่วงที่ยังเป็นปึกแผ่น และที่แตกเป็น หลายอาณาจักรสลับกันไป และในบางครั้งได้ถูกปกครองจากชนชาติอื่น
วัฒนธรรมของจีนนั้นมีอิทธิพลอย่างสูงมาก ต่อชาติอื่น ๆ ในแถบทวีปเอเชีย ซึ่งถูกถ่ายทอดไปโดนทั้งการอพยพ, การค้า และการได้ยึดครอง อารยธรรมจีน สมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้น มีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญอยู่ 2 แหล่ง คือ
1 ลุ่มแม่น้ำฮวงโห ได้พบความเจริญที่เรียกกันว่า วัฒนธรรมหยางเชา(Yang Shao) จะพบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผา โดยมีลักษณะที่สำคัญ คือ เครื่องปั้นดินเผานั้นเป็นลายเขียนสี มักจะเป็นลายเรขาคณิต นก สัตว์ต่างๆ และยังพบใบหน้ามนุษย์ด้วย โดยสีที่ใช้คือ สีดำ หรือสีม่วงเข้ม ทั้งนอกจากนี้ยังมี การพิมพ์ลวดลาย หรือสลักลายให้เป็นรูปลายจักสาน, ลายเชือกทาบ
2 ลุ่มน้ำแยงซี (Yangtze) พบในบริเวณมณฑลชานตุง เรียกว่า วัฒนธรรมหลงซาน (Lung Shan) โดยพบหลักฐานเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะสำคัญ คือ เครื่องปั้นดินเผานี้จะมีเนื้อละเอียด มีสีดำขัดมันเงา คุณภาพดี เนื้อบางและทนทาน เป็นภาชนะ 3 ขา
สมัย ประวัติศาสตร์จีน นั้นแบ่งได้ 4 ยุคสมัย คือ
1 ประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ โดยเริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดที่สมัยราชวงศ์โจว
2 ประวัติศาสตร์จีนสมัยจักรวรรดิ โดบเริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น ไปจนถึงปลายราชวงศ์ชิง
3 ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ โดยเริ่มที่ปลายราชวงศ์ชิง ไปจนถึงการปฏิวัติเข้าระบอบสังคมนิยม
4 ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย โดยที่เริ่มตั้งแต่จีนได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าระบอบสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์มาจนถึงปัจจุบันนี้
อารยธรรมจีน ในสมัยราชวงศ์ต่าง ๆ ของ ประวัติศาสาตร์จีนมีดังนี้
1. ราชวงศ์ชาง ซึ่งเป็นราชวงศ์แรกของจีน
– มีการปกครองในแบบ ‘นครรัฐ’
– มีการประดิษฐ์คิดค้นตัวอักษรขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก ได้พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกของวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่นั้นจะเป็นการทำนายโชคชะตา จึงเรียกว่า ‘กระดูกเสี่ยงทาย’
– มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ
2. ราชวงศ์โจว
– แนวความคิดการปกครองนั้น เชื่อเรื่องกษัตริย์นั้นเป็น โอรสแห่งสวรรค์ ที่สวรรค์ได้มอบอำนาจให้มาปกครองมนุษย์ เรียกกันว่า “อาณัตแห่งสวรรค์”
– เริ่มต้นยุคของศักดินาจีน
– ได้เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทางที่เป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม
– เน้นความสำคัญในด้านการศึกษา
– เกิดลัทธิเต๋าขึ้น โดยเล่าจื๊อ ที่ได้มีแนวทางมุ่งเน้นการดำเนินชีวิตเรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผน เน้นปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ
ลัทธินี้ถือว่ามีอิทธิพลมากต่อศิลปิน นักกวี และจิตรกรจีน โดยคำสอนทั้งสองลัทธินั้นสามารถเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คน
3. ราชวงศ์จิ๋น หรือฉิน
– จักรพรรดิยิ่งใหญ่ที่สามารถรวมดินแดนของจีนให้เป็นจักรวรรดิ ได้เป็นครั้งแรกคือ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ และเป็นผู้ทำให้เกิดการสร้างกำแพงเมืองจีน
– มีการใช้เหรียญกษาปณ์ และมีมาตราชั่ง ตวง วัด
4. ราชวงศ์ฮั่น
– เป็นยุคทองในด้านการค้าของประเทศจีน โดยมีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน อินเดีย และอาหรับ ก่อให้เกิดเส้นทางการค้าที่มีชื่อเรียกว่า เส้นทางสายไหม(Silk Road)
– ลัทธิขงจื๊อ กับคำสอนที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศจีน
– มีการสอบคัดเลือกนำบุคคลเข้ารับราชการ โดยเรียกกันว่า จอหงวน (狀元)
5. ราชวงศ์จิ้น
– เปิดโอกาสให้เหล่าบรรดานักปราชญ์ ผู้มีความรู้จำนวนมากเดินทางอพยพเข้ามาด้วย จึงทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับผู้คนทางใต้ได้มากขึ้น เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมและสังคมประเพณีขึ้นมา รวมถึงงานฝีมือของทางเหนือและทางใต้ก็มีการผสมผสานกลมกลืนกัน จึงทำให้งานฝีมือในยุคจิ้นตะวันออกมีความก้าวหน้า นอกจากนั้น นับตั้งแต่ราชวงศ์วุ่ย ของโจโฉ ในยุคสามก๊กเป็นต้นมา ประเทศจีนก็ได้มีวิวัฒนาการทางด้านตัวอักษรไปอย่างก้าวกระโดด เมื่อถึงยุคจิ้นตะวันออก จึงถือกำเนิดปราชญ์ กวี และนักเขียนพู่กันจีนอันมีชื่อมากมาย อาทิ เซี่ยหลิงยุ่นว์ เถาหยวนหมิง หวังซีจือ เป็นต้น และได้มีการปฏิรูปถึงรูปแบบการเขียนกาพย์กลอนครั้งใหญ่ ได้วางรากฐานให้กับการวิวัฒนาการไปสู่ยุคทองของวรรณคดีจีนในสมัยราชวงศ์สุยและถัง ในเวลาต่อมา
6. ราชวงศ์สุย
– เป็นยุคแตกแยก ที่แบ่งเป็นสามก๊ก
– มีการขุดคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการคมนาคม
7. ราชวงศ์ถัง
– อันได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีนก็ว่าได้ โดยนครฉางอานถือเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น
– ทางด้านพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ(ถังซำจั๋ง) ได้เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ณ ชมพูทวีป
– ถือเป็นยุคทองของนักกวีนิพนธ์จีน โดยมีกวีคนสำคัญ เช่น หลี่ไป๋ หวางเหว่ย ตู้ฝู้ และศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง
8. ราชวงศ์ซ้อง
– มีความเจริญก้าวหน้าในด้านการเดินเรือสำเภา
– รู้จักใช้เข็มทิศ และรู้จักใช้ลูกคิด และประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ
-รักษาโรคภัยด้วยศาสตร์การฝังเข็ม
9. ราชวงศ์หยวน
– เป็นราชวงศ์ของชาวมองโกลที่ได้เข้ามาปกครองจีน โดยฮ่องเต้องค์แรกคือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ นั่นเอง
– ชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อค้าขายมากขึ้น พ่อค้าคนสำคัญ เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส ของอิตาลี
10. ราชวงศ์หมิง
– วรรณกรรม ยุคที่นิยมการเขียนนวนิยายที่จะใช้ภาษาพูดมากกว่าการๆจะใช้ภาษาเขียน โดยมีนวนิยายที่สำคัญ ๆ ได้แก่ สามก๊ก และไซอิ๋ว
– ส่งเสริมการสำรวจถึงเส้นทางเดินเรือทางทะเล
– สร้างพระราชวังหลวงในปักกิ่ง หรือที่เรียกว่าพระราชวังต้องห้าม (Forbidden City)
11. ราชวงศ์ชิง
– เป็นราชวงศ์จากเผ่าแมนจู ที่เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยจากความเจริญในทุกด้าน
เริ่มมีการถูกรุกรานจากชนชาติตะวันตก เช่น จากสงครามฝิ่น ซึ่งจีนได้พ่ายแพ้ให้กับอังกฤษ จนต้องถูกลงนามในสนธิสัญญานานกิง ส่วนปลายยุคราชวงศ์ชิงพระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในการบริหารประเทศ
จากนั้น ประเทศจีนก็เข้าสู่ยุคสาธารณรัฐ และยุคคอมมิวนิสต์
ประวัติศาสตร์จีน ในปลายยุคราชวงศ์ชิง ดร.ซุนยัตเซ็น ได้จัดตั้งสมาคมสันนิบาตขึ้นเพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิง โดยได้ประกาศลัทธิไตรราษฎร์ อันประกอบด้วย นโยบายปฏิวัติ คือ โค่นล้มราชวงศ์แมนจูลง และได้จัดตั้งรัฐบาลประชาชน จัดตั้งรัฐบาลขึ้นตามระบอบสาธารณรัฐ ได้จัดสรรที่ดินให้กับประชาชน และได้ก่อตั้งพรรคชาตินิยม หรือพรรคก๊กมินตั๋ง ขึ้นมาในที่สุด หลังจากนั้นได้มีการแย่งชิงอำนาจและการปกครองขึ้นหลายครั้ง จนมาถึง เหมา เจ๋อตุง ผู้สถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ขึ้นมา และปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ที่มีการจัดระเบียบสังคมใหม่ โดยเรียกว่า การปฏิวัติทางวัฒนธรรม เพื่อที่จะต่อต้านจารีตศักดินาแบ่งชนชั้น และหลังจากที่ เหมา เจ๋อตุง เสียชีวิต เติ้งเสี่ยวผิง ได้ขึ้นเป็นผู้นำจีนแทน และประกาศพัฒนาประเทศด้วย นโยบายสี่ทันสมัย คือ ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยยอมอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในประเทศ รวมถึงผ่อนปรนวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนให้คลายความเข้มงวดลง เป็นรูปแบบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
อ่านบทความ ประวัติศาสตร์สุโขทัย จุดเริ่มต้นอาณาจักรและลำดับ การปกครอง ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน