ในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละประเทศนั้น ล้วนมีที่มาที่ไปกันตามประวัติศาสตร์ อันน่าสนใจต่างกันออกไป แต่จะมีรูปแบบที่เหมือน ๆ กัน คือ การแบ่งยุคสมัย ตามช่วงเวลา ตามเหตุการณ์ หรือตามการปกครองของบุคคลในช่วงเวลานั้น
ซึ่งเป็นอะไรที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจในประวัติศาสตร์พื้นที่นั้นได้ดียิ่งขึ้น
ประเทศญี่ปุ่นเองก็เช่นกัน ที่มี ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น มาอย่างยาวนานจนแบ่งออกได้ หลายยุค หลายสมัยเหลือเกิน และเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ เขาถึงได้ แบ่งยุคสมัยออกอีกเป็น 2 ช่วงใหญ่ด้วยกัน คือ ญี่ปุ่นในยุคเก่า ที่เริ่มต้นใน ยุคโจมอน 14,000-300 ปีก่อนคริสตกาล ไปจนถึง ยุคเอโดะ ค.ศ. 1600-1868
และช่วงที่ 2 คือยุคสมัยใหม่ ที่เราจะนำมาสรุปในแต่ละช่วงให้คุณได้อ่านกัน ในวันนี้นั่นเอง จะมียุคไหน เป็นมาอย่างไรบ้าง เลื่อนไปชมกันได้เลย
ยุคปฎิรูปเมจิ ค.ศ. 1868-1912
ขอเรียกว่ายุคโมเดิร์นของญี่ปุ่นเลยแล้วกัน นับว่าเริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1867 ถ้าคุณเป็นแฟนประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ก็น่าจะจำกันได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของยุคเมจิ ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ญี่ปุ่นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่อย่างมาก ผู้นำประเทศในยุคนี้คือจักรพรรดิเมจิ ที่ขึ้นครองราชย์ในวัยเพียง 14 ปีเท่านั้น และทรงย้ายเมืองหลวงจากจังหวัดเกียวโตมายังที่ “เอโดะ” หรือ “กรุงโตเกียว” ที่เราคุ้นเคยกันดีในปัจจุบันนี้นั่นเอง จากนั้นญี่ปุ่นก็ทำการปรับปรุงตัวเองในขนานใหญ่เพื่อให้ทัดเทียมกับประเทศ
ตะวันตก ส่วนเหตุการณ์ที่คนไทยเราพอจะนึกออกที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ก็คือ “The Last Samurai” ที่นำแสดงโดย Tom Cruise นั่นเอง
ยุคไทโช (ค.ศ. 1912-1926)
“ไทโช” มีความหมายว่า “คุณธรรมอันยิ่งใหญ่” โดยยุคนี้เริ่มต้นที่ปี ค.ศ. 1912 เมื่อจักรพรรดิไทโชได้สืบทอดต่อจากพระบิดา และยังคงมีการต่อเนื่องจากการ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ช่วงระหว่างยุคเมจิ ในหน้าประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นนั้น ในยุคไทโชก็ได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวและมีการเรียกร้องให้เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยไทโช” ซึ่งเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1ในช่วงที่ญี่ปุ่นกำลัง รุ่งเรืองนั่นเอง
ยุคโชวะ (ค.ศ. 1926-1989)
ยุคโชวะนี้ นับเป็นยุคสมัยที่ยาวนานที่สุดของ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เลยก็ว่าได้ โดยเริ่มต้นใน
ค.ศ. 1926 หลังเหตุการณ์การสวรรคตของจักรพรรดิไทโช และได้สิ้นสุดลง ใน ค.ศ. 1989 หรือราว ๆ ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเริ่มเปลี่ยนระบอบ การปกครองมาเป็นเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ แต่ก็ได้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ที่ถือว่าเป็นครั้งใหญ่หลังสงคราม เป็นยุคที่จักรพรรดินั้นไม่ได้ถูกมองว่าเป็น พระเจ้าอีกต่อไป และในครึ่งหลังของยุคโชวะนั้น ในหน้าประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น บ่งบอกไว้ว่าญี่ปุ่นเริ่มนำระบอบราชาธิปไตยที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญมาใช้ร่วม กับประชาธิปไตยเสรีนิยม ซึ่งหลังจากสงครามสิ้นสุด ญี่ปุ่นก็เปลี่ยนแปลง ตัวเองอย่างรวดเร็ว
ยุคเฮย์เซย์ ค.ศ. 1989 – ปัจจุบัน
เฮเซ ที่แปลเป็นไทยได้ว่า “ความสงบสุขทุกหนแห่ง” เมื่อเทียบกับยุคที่ผ่านพ้น มาแล้ว ก็พูดได้เต็มปากว่ายุคสมัยนี้เป็นช่วงเวลาอันแสนสงบสุขและมีความ รุ่งเรืองอย่างมากในหน้าประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ยุคเฮเซได้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1989 ที่สมเด็จ พระจักรพรรดิอากิฮิโต้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา และกับเหตุการ์อื่น ๆ คงไม่ต้องบอกอะไรมาก เพราะนี่คือยุคของทุกวันนี้ ของประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง ซึ่งนอกจากเหตุการณ์สำคัญ เมื่อปี ค.ศ. 2011 ที่ได้เกิดเหตุการณ์ Tsunami แถวโทโฮขุจนทำให้เกิดวิกฤตการณ์รังสีรั่ว
ไหลที่โรงงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจะส่งผลให้ทางญี่ปุ่น ต้องแก้ปัญหานี้ไปอีกนานพอสมควรที่เดียว พร้อมกับพิษเศรษฐกิจที่กำลัง
ส่งผลให้แย่ลงในปัจจุบันอีกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างกับยุคสมัยใหม่ของ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ที่นับว่าน่าสนใจเป็น กรีณีศึกษาไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งนี้เราหวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยนช์จากบมความนี้
ไปบ้างไม่มาก็น้อยนะคะ
อ่านบทความ 10 งานเทศกาลญี่ปุ่น ที่จะพาคุณสนุกสนานครื้นเครง ไปกับวัฒนธรรมอันน่าหลงไหล
แหล่งที่มา : ประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น, understanding-japanese-eras