ประวัติศาสตร์อยุธยา เป็นประวัติศาสตร์ที่มีมาช้านาน เราต่างก็เคยได้เรียนและได้ยินมาจากบทเรียนที่เราเคยเรียนที่โรงเรียน บรรพุรุษของไทย ผู้กอบกู้เอกราชบ้านเมือง วันนี้เราจะมาอ่านทบทวนความรู้กันใหม่เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาของเรา
การกำเนิดขึ้นของอยุธยา
โดยความเป็นมาก่อนที่จะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นมาเป็นราชธานีของอาณาจักรอยุธยานั้นไม่ปรากฏอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่แล้ว จะมีเพียงข้อมูล ในลักษณะตำนานให้พบเจอในเอกสารของทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ อาทิ พงศาวดารเหนือ แต่ถ้าพูดถึงการกำเนิดอาณาจักรอยุธยาที่ได้รับการยอมรับ อย่างกว้างขวางที่สุด คือ การเกิดเป็นรัฐที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นการรวมอำนาจเข้าด้วยกันระหว่าง อาณาจักรละโว้ และอาณาจักรสุพรรณภูมิ ขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ด้วยอาจจะเพราะภัยโรคระบาดที่มาคุกคาม สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงย้ายราช- สำนักมายังที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณ์บริเวณของแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงหนองโสน บนเกาะที่ล้อมไปด้วยแม่น้ำซึ่งในครั้งอดีตนั้นเคยเป็นนครท่าเรือ เดินทะเล ชื่อว่า “อโยธยา” ต่อมานครใหม่นี้ก็ได้รับการขนานนามว่า กรุงพระนครศรีอยุธยา ซึ่งในภายหลังได้เรียกขานกันว่า กรุงศรีอยุธยา ที่ตาม ความหมายแล้ว แปลว่า นครที่ไม่อาจทำลาย
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
อยุธยานั้นเป็นอาณาจักรที่มีความได้เปรียบในด้านของสภาพภูมิศาสตร์ เป็นอย่างมาก คือการที่ตั้งอยู่ที่บริเวณของแม่น้ำ 3 สาย ไหลมาบรรจบกัน ประกอบไปด้วย แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ทำให้กรุงศรีอยุธยานั้นมีสภาพเป็นเกาะโดยมีแม่น้ำล้อมรอบอยู่ และมีถนน รอบเกาะความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร นับเป็นที่ราบลุ่มที่เหมาะต่อการ เพาะปลูกข้าวเป็นอย่างดี และยังมีตั้งอยู่ไม่ไกลจากทะเลเท่าไรนัก ทำให้เป็น การดีที่จะสามารถทำการค้าขายกับชาวต่างชาติได้อย่างสะดวก
การปกครอง
ประวัติศาสตร์อยุธยาที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ระบบการปกครองในสมัยอยุธยานั้น เป็นระบบการปกครองที่เรียกว่า “ราชาธิราชผสมกับศักดินา” โดยจะกล่าวคือ กษัตริย์มีอำนาจสูงสุด แต่ยังมีการแบ่งชนชั้นในการปกครองออกเป็น พระมหากษัตริย์ – ขุนนาง – พระสงฆ์ – ราษฎร ไว้เป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน มีการเกณฑ์แรงงานที่เรียกคนเหล่านี้ว่า “ไพร่” และมีการเก็บอากร หรือที่เรียกว่า “ส่วย” เป็นผลิตผล และตัวเงิน โดยที่พระเจ้าแผ่นดินทรงผูกขาดในด้านการค้ากับต่างประเทศ
ในการแบ่งชนชั้นของความเป็นเจ้าและขุนนาง ไม่ได้มีการแบ่งไว้ตายตัว ทั้งนี้ก็เพราะจากการสืบราชสมบัติ และในบางครั้งขุนนางเองก็สามารถขึ้นมา ยึดอำนาจและแต่งตั้งราชวงศ์ใหม่ได้ จะเห็นได้ในกรณีของขุนวรวงศาธิราช หรือกรณีของราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ส่วนราษฎรทั่วไปนั้น จะออกแบ่งออกเป็น “ไพร่” ที่ต้องมีสังกัดขึ้นกับ “มูลนาย” อย่างชัดเจนแน่นอน มีการแบ่งชนชั้นอีกเป็น “ไพร่หลวง” และ “ไพร่สม” (ไพร่หลวงนั้นจะขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนไพร่สมก็จะขึ้นเจ้าหรือขุนนาง) โดยที่ไพร่ทั้งสองแบบี้มีหน้าที่ที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้กับนายของตน และจะถูกเกณฑ์ต่อไปเป็นทหารเวลาที่มีสงคราม นอกเหนือจากนี้ยังมี “ไพร่ส่วย” ซึ่งเป็นไร่ที่จะเอาผลิตผลที่ได้มาเสียภาษีเพื่อแทนการเกณฑ์แรงงาน ไพร่แบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นราษฎรที่อยู่ห่างไกลและอยู่ในพื้นที่ที่มีผลิตผลที่หาได้จากป่าหรือจากแผ่นดิน
ศิลปะในสมัยอยุธยา
เนื่องจากในสมัยอยุธยานั้นได้มีการสร้างสรรค์วรรณคดีเอาไว้มาก จึงทำให้ วัตถุดิบทางวรรณคดีเหล่านั้นส่งผลต่อการนาฏศิลป์ และการละครของสยาม ได้รับพัฒนามากขึ้นจนมีความสมบูรณ์แบบ ทั้งในด้านการแต่งกาย และการแสดงออกในขั้นระดับสูง และมีอิทธิพลแผ่ขยายไปยังอาณาจักร อื่น ๆ ข้างเคียงอีกด้วย ตัวอย่างเช่น “โขน” ซึ่งการแสดงโขน และศิลปะนาฏศิลป์สยาม ประเภทต่าง ๆ นั้น มีหลักฐานบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า ได้มีการให้จัดแสดงขึ้นใน พระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา ในลักษณะที่บอกได้ว่าแทบจะเหมือนกันกับ ประวัติศาสตร์อยุธยา จะมีรูปแบบนาฏศิลป์ไทยมีที่ยังคงปรากฏอยู่ในประเทศไทยยุคปัจจุบัน และแพร่ หลายไปถึงยังประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย จากข้อมูลเบื้องต้นนี้ ทำให้สามารถ สันนิษฐานได้ว่าศิลปะการละครของไทยสมัยนั้น น่าจะถูกพัฒนาขึ้นจนสมบูรณ์ ได้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 อิงตามสมัยคริสตกาลเป็นอย่างน้อย
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ ประวัติศาสตร์อยุธยา ที่เราได้นำมาเสนอให้ทุกคนได้อ่านกัน ถึงแม้ว่าเรื่องราวความเป็นมาจะผ่านมาไปกี่ร้อยปี แต่ทุกๆความเป็นมา ก็จะคงอยู่ในใจของคนไทยทุกคน
อ่านบทความ ประวัติศาสตร์สุโขทัย จุดเริ่มต้นอาณาจักรและลำดับ การปกครอง ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
แหล่งที่มาของข้อมูล : อาณาจักรอยุธยา AyuttayaHistory.htm