ประเพณี ลอยกระทง ถือเป็นอีกเทศกาลหนึ่งของประเทศไทยที่ตามความเชื่อแล้วถือว่ามีความงดงาม และเชื่อว่าจะก่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นและขับไล่สิ่งที่ไม่ดีที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ที่เข้าร่วมประเพณีได้ ด้วยการนำกระทงนั้นมาอธิฐานขอขมาต่อพระแม่คงคา ให้พระแม่คงคาช่วยไล่สิ่งที่ไม่ดีออกไป จากตัวคนลอยกระทงด้วยนั่นเอง นี่คือสิ่งที่คนทั่วไปอย่างเรา ๆ นั้นรู้จักกันดี แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ไปถึง ตำนานของ ประเพณีลอยกระทง กันบ้างล่ะ คุณเองก็ยังไม่รู้ใช่ไหม มาอ่านต่อกันได้เลย
ตำนานของ ประเพณี ลอยกระทง
หากพูดถึงตำนานที่มาของประเพณีลอยกระทง แล้วนั้นมีมากมายหลายตำนานที่แตกต่างกันไป ตามพื้นที่และความเชื่อของผู้คนและที่อยู่อาศัย ครั้งนี้เราจะยกตัวอย่างตำนานของ ประเพณีลอยกระทง ให้คุณผู้อ่านได้ทราบกันดังนี้
ตำนาน ความเชื่อด้วยการลอยกระทง เพื่อบูชาเทพในศาสนาพราหมณ์
ประเพณีลอยกระทง ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ นั้นจะมีพิธีกรรมลอยประทีปขึ้นมา เพื่อเป็นการบูชาเทพเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ได้แก่ พระอิศวร, พระนารายณ์ และพระพรหม ซึ่งยึดตามคัมภีร์ “ทีปาวลี” จะทำการลอยประทีปก่อนการลอยกระทง ในเวลาต่อมาเมื่อชาวพุทธนั้นเห็นเป็นเรื่องดี จึงได้นำมาปรับใช้กับการลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท โดยทำเพื่อเป็นการรับเสด็จ พระพุทธเจ้าในเดือนสิบสองนั่นเอง
ตำนานประเพณี ลอยกระทง เพื่อเป็นการบูชาพระพุทธบาท
ประเพณีลอยกระทง ตามตำนานวันลอยกระทงนี้ เกี่ยวข้องไปถึงการบูชาพญานาค และบูชา รอยพระพุทธบาท ที่อ้างอิงมาจากพุทธชาดก ในเรื่องขอฝการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในขณะที่ พระพุทธองค์นั้นประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา โดยมีนางสุชาดาผู้เป็นอุบาสิกา ได้มาถวายข้าวมธุปายาสที่ทำด้วยถาดทอง วันหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้านั้นได้เสวยหมดแล้ว จึงนำถาดมาลอยน้ำ โดยตั้งสัตยาธิษฐานเอาไว้ว่าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ ขอให้ถาดใบนี้ลอยทวนน้ำ แล้วปรากฏว่าถาดนี้ได้ลอยทวนน้ำขึ้นไปจนถึงบริเวณสะดือทะเล จมลงไปถูกหางของพญานาคที่เป็นผู้รักษาบาดาล พญานาคจึงได้ขึ้นมาหาพระพุทธเจ้า และได้ขอให้พระองค์นั้นทรงประทับรอยพระบาทเอาไว้บนฝั่งของแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อให้พวกตนนั้น ได้ขึ้นมาถวายสักการะ และหลังจากนั้นสาวใช้นางหนึ่งของนางสุชาดาได้พบเห็นเข้าจึงไปบอก นางสุชาดา ในทุกปีต่อมานางสุชาดาก็จะนำถาดใส่ดอกไม้ เครื่องหอมมาสักการะพระพุทธบาทเรื่อยมา
ตำนานลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลก
ประเพณีลอยกระทง ตำนานนี้เล่ากันว่า เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะ นั้นได้เสด็จออกบวชจนสามารถ บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนั้น ก็ได้เสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยทำเพื่อทรงเทศนาธรรมและโปรดพระพุทธมารดา จากนั้นพระองค์ก็ได้เสด็จกลับลงมาสู่โลกมนุษย์ แล้วในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ในครั้งนี้ เหล่าทวยเทพต่าง ๆ และประชาชนที่เลื่อมใสทั้งหลาย ก็ได้พร้อมใจกันทำการสักการบูชาพระองค์ด้วยทิพย์บุปผามาลัย โดยการลอยกระทงตามตำนานนี้ จึงเป็นการลอยเพื่อรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพที่กลับลงมานั่นเอง
ความสำคัญวันลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทง มีเพื่อขอขมาต่อพระแม่คงคา และเพื่อบูชาพระพุทธบาท ตามคติความเชื่อประเพณี ลอยกระทง มีเพื่อรักษาถึงธรรมเนียมของชาวไทยไม่ให้สูญหายประเพณี ลอยกระทง มีเพื่อให้เรารู้คุณค่าของน้ำและแม่น้ำลำคลอง ที่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับดำรงชีวิตของเราในทุก ๆ วัน
ประเพณี ลอยกระทง ตามความเชื่อของคนไทยที่มีตั้งแต่สมัยโบราณ
1. ประเพณีลอยกระทง สำหรับคนไทยมีความเชื่อว่าเป็นการที่บูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งให้น้ำเป็นพาหนะในการนำทางให้กระทงที่มีการประดับด้วยดอกไม้ธูปเทียนไปสักการะพระองค์ โดยใช้การจินตนาและลอยช่วงฤดูที่น้ำหลากในคืนของวันเพ็ญที่มีพระจันทร์เต็มดวง
2. ประเพณีลอยกระทง ตามความเชื่อของชาวไทย ที่เชื่อว่าการลอยกระทง นั้นเปรียบเสมือนกับการ ลอยความทุกข์ให้ไหลไปกับกระทงที่ไปตามสายน้ำ พร้อมกับทั้งตั้งจิตอธิษฐานเพื่อขอพรต่าง ๆ กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความปราถนา
3. ประเพณีลอยกระทง ตามความเชื่อของคนไทย ว่าการลอยกระทงนั้น เป็นการลอยเพื่อขอขมา ต่อแม่น้ำลำคลองและต่อพระแม่คงคา เนื่องจากที่คนเรานั้นต้องใช้น้ำเพื่อดำรงชีวิตประจำวันในทุกวัน
และนี่ก็เป็นตำนาน รวมถึงความสำคัญที่มีขึ้นของ ประเพณี ลอยกระทง ตามความเชื่อของคนไทย และเป็นประเพณีที่คุ้นเคย ที่มีความสวยงาม ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ดีอีกพระเพณีหนึ่งเลยทีเดียว
แหล่งที่มา : ตำนานประเพณี-วันลอยกระทง.html, takencm22.html
อ่านต่อที่ ศิลปวัฒนธรรม
Credit : สถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศ, สถานที่ท่องเที่ยวในไทย, ของเล่น, ของใช้ผู้ชาย, แต่งงาน