“ชนชั้นกลาง”  คือใครหรือกลุ่มใด ทำไมถึงเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ

พฤษภาทมิฬ

เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ คือชื่อเรียกของเหตุการณ์ อันเป็นเหตุการณ์ที่ประชาชน เคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมือง ที่มี เหตุการณ์อันรุนแรงและน่าเศร้าเป็นอย่างมาก เกิดขึ้นมากมาย และในการ เคลื่อนไหวชุมนุมครั้งนี้เอง ได้เกิด “ม็อบมือถือ” ขึ้นมา ซึ่งม็อบมือถือนี้มีที่มา อย่างไร เป็นใครมาจากไหน มีความเกี่ยวข้อง กับเหตุณการณ์พฤษภาทมิฬ ได้อย่างไร วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกัน  

ม็อบมือถือ คือใครหรือกลุ่มใด 

“ม็อบมือถือ” คือกลุ่มบุคคลที่เรียกกันว่า ชนชั้นกลางและนักธุรกิจ ที่อยู่กัน ในสังคมไทยขณะนั้น เกิดการรวมตัวกันขึ้นการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศ ให้มีความชัดเจนและก้าวหน้ามากขึ้น 

โดยเหตุการณ์นี้นับได้ว่า “ชนชั้นกลาง” นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองไทย “บนท้องถนน” เพิ่มขึ้นอย่างมากมายแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนหน้านี้
โดยชนชั้นกลางในขณะนั้น น่าจะเป็นประชาชนผู้ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2490 – 2500 ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งจะนับตั้งแต่ ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่อเนื่องมาจนถึงยุคของจอมพลถนอม กิตติขจร

พฤษภาทมิฬ 1

และเริ่มที่จะเข้ามามีบทบาทในการบริหารเศรษฐกิจประเทศในยุคสมัยรัฐบาล ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ โดยผ่านทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ขณะนั้นมีการตั้ง คณะกรรมการร่วมกับภาครัฐและเอกชน เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) โดยเปิดบทบาทให้ภาคเอกชนเองได้มีโอกาสเข้ามาเสนอแนะ ความคิดเห็นต่าง ๆ ที่จะการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีทั้ง หน่วยงาน กรอ.ระดับประเทศ และในระดับจังหวัด

การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของชนชั้นกลาง


และเมื่อเข้าทศวรรษ 2530 ชนชั้นกลางในพื้นที่ภูมิภาคต่าง ๆ เริ่มเติบโตและ เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละจังหวัดมากขึ้น โดยที่มีหอการค้าจังหวัดเป็นองค์กรนำ ในขณะที่บทบาทของกลุ่มคนรุ่น “ลูก” มีผลต่อธุรกิจของครอบครัวเองก็เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ช่วงนี้เป็นช่วงที่ มีการโอนถ่ายอำนาจกิจการบริหารธุรกิจของครอบครัวมายังรุ่นลูก ที่อยู่ใน ช่วงวัยอายุ 30 – 40 ปีมากขึ้น ในขณะที่ทางการเมือง ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2520 ต่อเนื่องมาถึงทศวรรษ 2530 เมื่อได้มีการเลือกตั้งขึ้นในปี 2522 ชนชั้นกลาง ไม่ได้ตื่นเต้นกับประชาธิปไตยที่ได้กลับมาอีกครั้ง หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เท่าไหร่นัก และเริ่มเบื่อหน่ายกับนักการเมืองที่อยู่ในระบบเลือกตั้งที่มี การซื้อสิทธิ์ขายเสียง ทุจริต คอร์รัปชั่น เล่นพรรคเล่นพวกกัน ไปถึงการแย่งชิง อำนาจและผลประโยชน์ที่ซึ่งสอดคล้องไปกับมุมมองของนักวิชาการและของสื่อส่วนใหญ่ในขณะนั้น

พฤษภาทมิฬ 3

การเลือกตั้งซ่อมที่เปิดขึ้นจังหวัดร้อยเอ็ดเมื่อปี พ.ศ.  2524 ที่มีการซื้อเสียงกัน อย่างเอิกเกริก จนถูกขนานนามไว้ว่า “โรคร้อยเอ็ด” ในช่วงรัฐบาล พล.อ.เปรม นั้น ด้วยภาพลักษณ์ที่ดูเป็นคนมือสะอาด จึงทำให้ชนชั้นกลางไม่วิตกกังวล ต่อการทุจิตคอร์รัปชั่นมากเท่าไหร่นัก จนกระทั่ง พล.อ.เปรมได้วางมือไป และ ได้ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์นายกรัฐมนตรี ซึ่งแม้ว่าตัวรัฐมนตรีใน คณะรัฐบาลของ พล.อ.ชาติชายส่วนใหญ่นั้นจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้งก็ตาม แต่ในมุมมองของชนชั้นกลางนี้เอง ค่อนข้างกังวล ในเรื่องคุณธรรมและความซื่อสัตย์อยู่ในน้อย 

จึงทําให้มีการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองขึ้น โดยคณะรักษาความสงบ เรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 มีชนชั้นกลาง บางส่วนไม่ได้คิดจะต่อต้าน แถมมีบางคนยังเห็นชอบด้วย เนื่องจากการบริหาร งานของรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ในตลอดระยะเวลา 2 ปีกว่านั้น ได้รับฉายาว่า “บุฟเฟ่ต์คาบิเนต” ทำให้ชนชั้นกลางค่อนข้างพอใจกับคณะรัฐประหารที่ได้ ประกาศว่า จะเข้ามาเพื่อให้ “ประชาธิปไตยเข้ารูปเข้ารอยและสะอาดบริสุทธิ์ขึ้น”

นอกจากนั้นเอง ยังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ได้ทำการอายัดและตรวจสอบทรัพย์สินของอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดของ พล.อ.ชาติชาย จำนวนทั้งหมด 23 คน คณะ รสช.ไม่เซ็นเซอร์สื่อ และไม่มีการยุบ พรรคการเมือง รวมถึงได้ยกเลิกประกาศกฎอัยการศึกในเวลาต่อมาไม่นาน พร้อมทั้งสัญญาว่าเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้แล้ว จะจัดให้มีการ เลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว ที่สำคัญคือ คณะรัฐประหารจะไม่เข้าเป็นรัฐบาล แต่ได้แต่งตั้ง นายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในชุดของนาย อานันท์นั้นก็ถูกอกถูกใจชนชั้นกลางอย่างมาก เพราะเต็มไปด้วยเทคโนแครต ที่ดูมีความสามารถ

พฤษภาทมิฬ 2

ชนชั้นกลางเคลื่อนไหวอีกครั้ง

แต่แล้วก็มีเหตุให้ชนชั้นกลางเริ่มจับตาความเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่ออกจะเริ่มไม่ปกติ จากการอาศัยกลไกของรัฐธรรมนูญที่ได้ร่างขึ้น เอื้อให้ทหาร ได้เข้ามาสู่รัฐสภาได้โดยที่ไม่ต้องลาออกจากราชการ อีกทั้งมีได้มีการจัดตั้ง “พรรคสามัคคีธรรม” ที่มีนายณรงค์ วงศ์วรรณ มาเป็นหัวหน้าพรรคขณะนั้น โดยแกนนำพรรคส่วนหนึ่งเคยมีชื่อเสียงไม่ดีทางด้านการทุจริตมาด้วย และยังมี ความใกล้ชิดกับแกนนำกลุ่ม รสช. จึงทำให้ถูกมองว่า พรรคนี้อาจจะเป็นฐาน อำนาจให้แกนนำของคณะรัฐประหารเข้าสู่การเมืองมาเพื่อสืบทอดอำนาจได้

ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นของประเทศเริ่มถดถอยลง โดยชนชั้นกลาง เชื่อว่ามาจากการทำรัฐประหารนั่นเอง 

ในปลายปี พ.ศ.  2534 นักวิชาการ นักศึกษาเองเริ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้อง ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญให้ออกมาเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทำให้กลุ่มชนชั้นกลาง เองก็เข้าร่วมความเคลื่อนไหวในครั้งนี้ด้วยจนกระทั่งเมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคสามัคคีธรรม เองได้รับเลือกเข้ามายังรัฐบาลมากสุด จนเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนั้น ทำให้นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรค ได้รับการเสนอชื่อให้ขึ้นเป็นนายก รัฐมนตรี ในขณะที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร รองหัวหน้า คณะ รสช. เอง ก็ได้ประกาศกับสื่อหลาย ๆ ครั้งว่า จะไม่เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแน่นอน

แต่ทว่าโฆษกกระทรวงต่างประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกแถลงการณ์ ว่า นายณรงค์นั้นอยู่ในบัญชีดำของสหรัฐ เนื่องจากได้พัวพันกับนักค้ายาเสพติด

พล.อ.สุจินดา คราประยูร จึงได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 พร้อมกับวาทกรรมที่ว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ” และนั่นจึงเป็นชนวนสำคัญ ให้เกิดการอดข้าวประท้วงและการก่อชุมนุมขับไล่เพื่อ เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีนั้นต้องเป็นคนที่มาจากการเลือกตั้ง ในช่วงเวลาต่อมา

และนี่ก็คือ “ชนชั้นกลาง” ที่ได้มีบทบาทสำคัญอย่างมากเลยทีเดียว ต่อเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ที่เรารู้จักกันอยู่แล้วนั่นเอง ซึ่งหวังว่าเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้คุณนั้น เข้าใจถึงส่วนประกอบสำคัญอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ได้มากขึ้น และอะไรเป็นปัจจัยของเหตุการณ์ในช่วงนั้นมากขึ้นบ้างกันนะคะ

อ่านบทความ 6 ตุลา เหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดอย่างที่สุด ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไทย

แหล่งที่มา artsandculture.google.com, article_553263 

สล็อตเว็บตรง

ufabetflix285

สล็อตเว็บใหญ่ที่สุด

Recent post

Tags
6 ตุลา (1) 14 ตุลา (1) Nirvana (1) กรุงธนบุรี (1) ควีนอลิซาเบธ ที่ 2 (1) คานธี (1) คุกเขมรแดง (1) งานเทศกาลญี่ปุ่น (1) จักวรรดิโรมัน (1) จิตร ภูมิศักดิ์ (1) ดนตรี (2) บิสมาร์ค (1) บุคคลสำคัญ (13) ปประวัติศาสตร์ไทย (1) ประวัติกรุงธนบุรี (1) ประวัติ พ่อขุนรามคำแหง (1) ประวัติ พ่อขุนรามคำแหง มหาราชผู้สร้าง ศิลาจารึก (1) ประวัติรัตนโกสินทร์ (1) ประวัติศาสตร์จีน (2) ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น (2) ประวัติศาสตร์สุโขทัย (1) ประวัติศาสตร์อยุธยา (1) ประวัติศาสตร์เชียงใหม่ (1) ประวัติศาสตร์โลก (17) ประวัติศาสตร์ไทย (17) พฤษภาทมิฬ (1) พ่อขุนรามคำแหง (1) ร.ศ. 112 (1) รัตนโกสินทร์ (2) รัตนโกสินทร์ศก (1) ศิลปวัฒนธรรม (10) สงคราม (5) สงครามเย็น (2) สงครามโลกครั้งที่ 1 (1) สงครามโลกครั้งที่ 2 (1) สรุป อารยธรรมกรีก ฉบับเข้าใจง่าย (1) อารยธรรมกรีก (1) อารยธรรมจีน (1) อารยธรรมอินเดีย (1) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (1) ฮิเดะ (1) เทศกาลญี่ปุ่น (1) เปิดประวัติ อดอล์ฟฮิตเลอร์ จุดกำเนิด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (1) เหตุการณ์สำคัญ (12) โฮจิมินห์ (1)

เว็บไซต์น่าสนใจ

ร้านอาหารอร่อย
kinkubsher

แฟชั่นผู้ชาย
maleextratoday

แบบบ้าน
baan-design

แต่งงาน
weddingdistrictfrance

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
liqinfo