ประเทศไทย ในยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นเป็นอย่างไร คงเป็นคำถามที่เรานึกสงสัยกันขึ้นมาได้กันแทบ ทุกคนแหละว่าไหม หรือไม่เราก็จะเจอคำถามนี้ จากการเรียนประวัติศาสตร์ในชั้นเรียนกันมาทุกคน อย่างแน่นอน แล้วลืมไปแล้วหรือยัง หรือยังสงสัยอยู่ไหม่วาในยุคก่อนปีะวัติศาสตร์นั้น ประเทศเราเป็น อย่างไรบ้างในพื้นโลกใบนี้ วันนี้เรามารื้อฟื้น หรือศึกษาถึงเรื่องนี้กันเถอะ
ผืนแผ่นดินไทยก่อนยุคประวัติศาสตร์
บริเวณพื้นที่ของประเทศไทย สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่อายุระหว่างราว 50,000 – 1,700 ปีมาแล้ว จากหลักฐานที่ได้ถูกละทิ้งไว้บนดิน ในบริเวณที่เคยเป็นที่อยู่อาศัย หรือข้างในหลุมศพ อาจจะเป็นพวกเครื่องมือเครื่องใช้ ที่ทำมาจากหินในรูปแบบต่าง ๆ ภาชนะที่ทำขึ้นมาด้วยดินหรือโลหะ ตลอดจนถึงเครื่องประดับที่ติดอยู่กับเหล่าโครงกระดูก ซึ่งเรื่องราวของมนุษย์กลุ่มต่างๆ เหล่านี้นั้นจะอยู่ ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ปรากฏว่ามีการใช้หนังสือเป็นสื่อภาษาบันทึกไว้แต่อย่างใด แต่เราสามารถศึกษาอายุของหลักฐานโบราณวัตถุนั้น ๆ ได้จากรูปร่างลักษณะ และจากสิ่งของ หรือวัสดุที่ใช้ทำขึ้น ทั้งโดยวิธีการหาอายุวัตถุโบราณจากวิธีวิทยาศาสตร์ คือ วิธีคาร์บอน 14 หรือเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ และด้วยการศึกษาเปรียบเทียบกับรูปแบบของโบราณวัตถุจากแหล่ง โบราณคดีของเพื่อนบ้าน หรือดินแดนอารยธรรมร่วมสมัยบริเวณใกล้เคียงที่สามารถนำมาศึกษา กำหนดอายุได้เช่นกัน
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตามหลักฐาน
ข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับกันมาจาก นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ที่ชื่อว่า ดร. เอช. อาร์. แวน ฮิงเกอเรน ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินเทาะ จำนวนหนึ่งซึ่งทำขึ้นโดยมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณใกล้กับสถานีบ้านเก่า ในจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์เหล่านี้อาจจะเป็น มนุษย์ชวาและมนุษย์ปักกิ่ง ซึ่งอยู่อาศัยเมื่อประมาณ 5 แสนปี มาแล้ว และหลักฐานในยุคหินเก่าในประเทศไทยนั้นพบหลักฐานของมนุษย์ยุคหินกลางในหลายจังหวัด โดยอย่างที่อำเภอไทรโยค ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินและโครงกระดูก จึงทำให้สันนิษฐานได้ว่าแถบดินแดนที่ซึ่งแม่น้ำกลองไหลผ่านได้มีมนุษย์อยู่อาศัยอยู่มานานกว่า 20,000 ปี แล้ว ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าที่สุดในประเทศไทยนั้น ตรวจสอบอายุเกือบ 1,000 ปี ถูกค้นพบได้ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จึงทำให้เกิดแนวคิดขึ้นมาที่ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเป็น ถิ่นกำเนิดของการกสิกรรมครั้งแรกของโลก และนอกจากนี้ยังได้ค้นพบขวานหินขัดในหลายภูมิภาค ของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นดีของมนุษย์ยุคหินใหม่ การขุดค้นโดยทางวิทยา อันทรโกศัย แห่งกรมศิลปากร ทำให้ได้พบโครงกระดูกและเศษผ้าไหมติดกระดูกเครื่องปั้นดินเผาที่พื้นที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งคาดว่ามีอายุมาถึง 3,000 ปี ก่อนที่การค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมที่ตำบลโคกพนมดี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งยืนยันแล้วว่ามีอายุ 5,000 ปี ที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมสูง และเผยแพร่ ไปสู่ประเทศจีนและส่วนอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย นอกจากนี้ นายดอน ที บายาด ยังได้ขุดค้นพบขวาน ทองแดงในบ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น อีกด้วย ซึ่งยืนยันถึงการใช้เครื่องสำริดในยุคหินใหม่ ซึ่งเก่าแก่กว่าหลักฐานเก่าที่ขุดค้นพบในจีนและอินเดียกว่า 500-1,000 ปี เลยทีเดียว นับเป็นหลักฐานยืนยันข้อมูลชั้นดีของยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยอย่างยิ่ง
ว่ากันด้วยแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ของไทย โดยแต่เดิมนั้นแบ่งออกเป็น 4 สมัย โดยแบ่งตามลักษณะและวัสดุที่นำมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ คือ
1. สมัยหินเก่า อายุประมาณ 50,000 – 10,000 ปีมาแล้ว
2. สมัยหินกลาง อายุประมาณ 10,000 – 7,000 ปีมาแล้ว
3. สมัยหินใหม่ อายุประมาณ 7,000 – 4,000 ปีมาแล้ว
4. สมัยโลหะ อายุประมาณ 4,600 – 1,700 ปีมาแล้ว
ถึงอย่างนั้น เมื่อเวลาได้เปลี่ยนและมีการค้นพบหลักฐานใหม่ ๆ ได้เกี่ยวกับ สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ นักวิชาการโบราณคดีรุ่นใหม่ ได้ใช้ศัพท์ในการกำหนดเรียกสมัยเหล่านี้ขึ้นมาใหม่ ซึ่งอ้างอิงหลักการ โดยใช้ลักษณะความเจริญของสังคม มาเป็นการกำหนดอายุ คือ
1. สังคมล่าสัตว์
2. สังคมเกษตรกรรม
3. สังคมเมืองเริ่มแรก
และนี่ก็เป็นเรื่องราวหลักฐาน ข้อมูลการอ้างอิงต่าง ๆ ที่มีการค้นพบเพื่อบอกเล่าถึงความเป็นมาของ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ให้เราได้ศึกษากันเป็นความรู้ กรณีศึกษาและต่อยอดกันต่อไปในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และด้านอื่น ๆ ในภายภาคหน้ากันนะครับ
แหล่งอ้างอิง : พัฒนาการของมนุษยชาติสมัยก่อนประวัติศาสตร์
อ่านต่อที่ ประวัติศาสตร์โลก