ในประวัติศาสตร์ไทยมีการรบบนหลังช้างหลายครั้ง เหตุการณ์ ยุทธหัตถีครั้งสำคัญที่สุดคือสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชรบกับพระเจ้าแปร เพราะไม่เพียงถูกบันทึกไว้ในพงศาวดารสมัยอยุธยาเท่านั้น แต่ยังคงสืบทอดมาในสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย เช่น การเขียนวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส แสดงให้เห็นว่า ยุทธหัตถีเป็นสัญลักษณ์การกู้เอกราชของกองทัพไทย วันนี้จึงได้รวบรวมเรืองราวของการทำ ยุทธหัตถี ที่เข้าใจง่าย ๆ อย่างสรุปมาฝากทุกคนพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย…
ยุทธหัตถี หรือ การชนช้างคือ
สำหรับการทำยุทธหัตถีนั้นก็คือการทำสงครามบนหลังช้างโดยมีผู้ควบคุมก็ทำการรบเป็นกษัติรย์หรือผู้นำ เป็นการทำสงครามซึ่งถือว่ามีเกียรติยศตามประเพณีโบราณของกษัตริย์ในภูมิภาคอุษาคเนย์ ช้างถือเป็นสัตว์ใหญ่ และเป็นการปะทะกันซึ่ง ๆ หน้า ผู้แพ้อาจถึงแก่ชีวิตได้
ยุทธหัตถีที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยมีอยู่ 5 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 รัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ครั้งที่ 2 สิ้นรัชกาลพระอินทราชา พ.ศ. 1917
ครั้งที่ 3 รัชกาลพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 2006
ครั้งที่ 4 รัชกาลพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ. 2091 (เกิดวีรสตรีพระศรีสุริโยทัย)
ครั้งที่ 5 พระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา พ.ศ. 2135
ครั้งที่ 5 นี้เหตุการณ์ ยุทธหัตถี ครั้งสำคัญที่สุดคือสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชรบกับพระเจ้าแปร เพราะไม่เพียงถูกบันทึกไว้ในพงศาวดารสมัยอยุธยาเท่านั้น แต่ยังคงสืบทอดมาในสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย เช่น การเขียนวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส แสดงให้เห็นว่า วันยุทธหัตถี เป็นสัญลักษณ์การกู้เอกราชของกองทัพไทย
ช้างศึก
ช้างศึกที่จะใช้ในการ ยุทธหัตถี ต้องเป็นช้างพลาย หรือช้างเพศผู้ มีลักษณะตรงตามตำราคชลักษณ์ คือ รูปร่างใหญ่โตกำยำ หัวกะโหลกหนาและใหญ่ แก้มเต็มสมบูรณ์ หน้าเชิดหลังต่ำ งายาวใหญ่มีความโค้งและแหลมคมได้ที่ โดยที่ช้างเชือกที่ฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดีและสามารถสู้เอาชนะช้างเชือกอื่นได้ จะถูกเรียกว่า “ช้างชนะงา” ซึ่งในสมัยโบราณช้างที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นช้างต้น จะอยู่ที่ ดงพญาเย็น หรือ ดงพญาไฟ ในปัจจุบัน
วิธีการทำยุทธหัตถี
ในการกระทำวันยุทธหัตถี นั้น บนหลังช้างจะมีคนนั่งอยู่สามคน ตัวแม่ทัพจะถือง้าวอยู่ที่คอช้าง คนที่นั่งกลางอยู่บนกูบจะถือหางนกยูงซ้ายขวาโบกเป็นสัญญาณ และคอยส่งอาวุธให้แม่ทัพ และจะสับเปลี่ยนที่นั่งกันตอนกระทำการรบเท่านั้น ที่ท้ายช้างจะมีควาญนั่งประจำที่ ตามเท้าช้างทั้งสี่มีพลประจำเรียกว่า จตุรงคบาท คนทั้งหมดจะถืออาวุธ เช่น ปืนปลายขอ หอกซัด ของ้าว ขอเกราะเขน แพน
ถ้าเป็นช้างจะมี หอกผูกผ้าสีแดงสองเล่ม ปืนใหญ่หันปากออกข้างขวาหนึ่งกระบอก ข้างซ้ายหนึ่งกระบอก มีนายทหารและพลทหารสวมเกราะ โพกผ้า ช้างที่เข้ากระบวนทัพ จะสวมเกราะใส่เกือกหรือรองเท้าเหล็กสำหรับกันขวากหนาม โดยทั้งที่สี่เท้าสวมหน้าราห์ มีปลอกเหล็กสวมงาทั้งคู่ และมีเกราะโว่พันงวงช้าง สำหรับพังหอค่าย โดยไม่เจ็บปวดหลังสิ้นยุคสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่มีการทำวันยุทธหัตถี อีกเลย นายทัพเลิกขี่ช้างนำทัพ เนื่องจากพลแม่นปืนเข้ามามีบทบาทในการรบมากขึ้น ดังนั้นปืนจึงเป็นสิ่งที่เข้ามาสร้างความแตกต่างและยุติธรรมเนียมการสู้รบบนหลังช้างไปตลอดกาล
วันยุทธหัตถี หรือ วันกองทัพไทย
วันยุทธหัตถี หรือ วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นวันที่ระลึกที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะซึ่งตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ กำหนดให้วันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีเป็น “วันยุทธหัตถี” รวมถึงยังเป็นวันกองทัพไทยอีกด้วย
แม้กว่าจะเป็นประเทศไทยที่ไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของใครอย่างปัจจุบันนี้ ต้องผ่านเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย ด้วยเพราะบรรพบุรุษผู้เสียสละหลายต่อยุคหลายสมัยต่างช่วยกันรักษาแม้ว่าในปัจจุบันนี้การทำ ยุทธหัตถี อย่างในอดีตจะไม่มีแล้ว แต่ก็มีวิวัฒนาการ และมาตรการคุ้มครองบ้านเมืองอยู่เสมอ มีการซ้อมเตรียมความพร้อมอยู่เสมอเมื่อใดที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัยกับประเทศเหล่ารั้วของชาติก็ปฎิบัติหน้าที่กันอย่างเต็มที่ แต่หน้าที่ทั้งหมดก็ไม่ได้อยู่แค่เหล่ารั้วของชาติเราทุกคนก็ต้องช่วยกันปกป้องประเทศตามกำลังเหมือนดังเหล่าวีรชนและบรรพบุรุษเรายอมแลกด้วยเลือดและเนื้อเพื่อประเทศชาติ
www.nationtv.tv
อ่านต่อที่ ประวัติศาสตร์ไทย