รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็นสัญญาลักษณ์แห่งประชาธิปไตยของชาวไทยอย่างเราอย่าง ภาคภูมิใจนี้ โดยรัฐธรรมนูญ นี้ โธมัส เพน (Thomas Paine) ได้กล่าวไว้ว่า “รัฐธรรมนูญไม่ใช่กฎหมาย ของรัฐบาล แต่เป็นกฎหมายของประชาชนเพื่อสถาปนารัฐบาล รัฐบาลที่ไร้ รัฐธรรมนูญก็คือรัฐบาลที่มีอํานาจแต่ปราศจากสิทธิในการปกครอง” จึงนับว่าเป็นการได้อยู่ภายใต้ รัฐธรรมนูญ นั้นนับเป็นการอยู่ที่เสรีและเท่าเทียมกันมากที่สุดเลยก็ว่าได้ วันนี้เราเลยจะมาบอกเล่าถึงรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย กันว่าเป็นมาอย่างไรและสำคัญอย่างไรต่อประชาชนชาวไทยเรา
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
หากว่าด้วยความหมายตามตรงของ รัฐธรรมนูญ แล้วนั้นก็คือ กฎหมายสูงสุดของการปกครองประเทศ รัฐธรรมนูญนั้นเป็นแม่บทของกฎหมายทั้งหลายทั้งปวงที่มีในประเทศ ถ้ากฎหมายใดที่มีนั้นขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายข้อนั้นจะถือว่าเป็นโมฆะและใช้บังคับไม่ได้ และโดยทั่วไปแล้วนั้น รัฐธรรมนูญจะบัญญัติหลักการต่าง ๆ ที่สําคัญ ๆ เกี่ยวกับการบริหารประเทศเอา ไว้อย่างชัดเจน เช่น รูปของรัฐ การแบ่งอํานาจอธิปไตย สิทธิหน้าที่ของประชาชนในประเทศ และเรื่องของระเบียบแบบแผนของการปกครอง โดยเพื่อสะท้อนให้เห็นว่ารัฐทุกรัฐนั้น จะต้องยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลักเพื่อรองรับความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐในกิจการต่าง ๆ และการมีซึ่งรัฐธรรมนูญนั้นกลายเป็น เครื่องหมายของการที่มีความชอบธรรมของผู้ปกครองในที่สุด ด้านการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญ ทำให้รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ได้มาเป็นเงื่อนไขสําคัญ ของความชอบธรรมในการปกครองประเทศ ประชาชนและรัฐบาล

กําเนิด รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ นั้นนับว่าเป็นประดิษฐกรรมของมนุษย์เราท่ีเกิดจากพัฒนาการขึ้นมาทางสังคม การเมืองที่มีมาต่อเนื่องยาวนาน ดังที่ Oxford Dictionary of Politics อธิบายว่า รัฐธรรมนูญนั้นเกิดขึ้นในบริบททางการเมืองอังกฤษหลังจากการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (Glorious Revolution) ในปี ค.ศ. 1688 (พ.ศ. 2231) ที่พระเจ้าเจมส์ ที่สอง (James II) นั้นได้ถูกกล่าวหาว่าทรงละเมิดต่อ “หลักการพื้นฐานทางรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักร” ซึ่งโดยนัยดังกล่าวนี้เอง คําว่า constitution ถูกนำมาใช้ในความหมายกว้าง ๆ ซึ่งในที่นี้หมายถึงหลักการหรือข้อตกลงนั่นเอง
จากภาพสะท้อนหนึ่งของพัฒนาการของรัฐธรรมนูญ ก็คือการแบ่งรัฐธรรมนูญ นี้ออกเป็นสองประเภทด้วยกัน ได้แก่ รัฐธรรมนูญแบบที่ไม่ถูกเขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร (unwritten constitution หรือ uncoded constitution) กับอีกแบบคือ รัฐธรรมนูญ ประเภทที่เขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร (written constitution หรือ coded constitution) โดยการกำเนิดรัฐธรรมนูญแบบแรกนั้น คือรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นที่ประเทศสหราชอาณาจักรหรือ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นแบบแผนและยังใช้มาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ส่วนรัฐธรรมนูญในแบบที่ ถูกเขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น ฉบับแรกคือรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้ร่างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1787 (พ.ศ. 2330) นั่นเอง
ความสําคัญของรัฐธรรมนูญ
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย นั้น ถ้าสรุปให้เห็ยภาพได้ง่าย ๆ คือ รัฐธรรมนูญนี้ นับว่ามีความสําคัญต่อประชาชนของประเทศเป็นอย่างมาก เพราะว่ารัฐธรรมนูญนั้นเปรียบเหมือนเป็น กฎหมายที่มีไว้รับรองสิทธิ เสรีภาพ และผลประโยชน์ประชาชนโดยเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมา เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ผลประโยชน์ของประชาชนทุกคนด้วย นอกจากนี้แล้ว รัฐธรรมนูญยังเป็น สิ่งกําหนดขอบเขตอํานาจหน้าที่ของผู้ปกครองนั้น ๆ ซึ่งเป็นหลักประกันไม่ให้ ผู้ที่ปกครองได้ล่วง ละเมิดในสิทธิอันชอบธรรมของเหล่าประชาชน รัฐธรรมนูญนี้ยังเป็นเครื่องกําหนดทิศทางของการ ดําเนินการที่จะบริหารประเทศของรัฐบาล ซึ่งจะทําให้เหล่ารัฐบาลนั้นสามารถที่จะดําเนินงาน ให้บรรลุ เป้าหมายที่วางไว้ได้เพื่อสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
ความเป็นมาของ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ที่มีการความคิดริเริ่มที่จะให้ประเทศไทยเรานั้น มีรัฐธรรมนูญขึ้นหรือคอนสติติ่วชั่น หรือร่างราชประเพณีใหม่เพื่อใช้ในการปกครองประเทศไทยเรา ได้ปรากฏขึ้นมาเป็นครั้งแรก ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการพัฒนามาเป็นลำดับได้ดังต่อไปนี้
1.ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญ(ร่างราชประเพณีใหม่) ที่เกิดขึ้นโดยสมเด็จกรมพระยา เทววงศ์วโรปการ เป็นผู้ร่างขึ้น แต่ยังไม่ได้ประกาศใช้
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญไทย
ความคิดริเริ่มที่จะให้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญหรือคอนสติติ่วชั่น หรือร่างราชประเพณีใหม่ ใช้ในการปกครองประเทศได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 และพัฒนามาเป็นลำดับดังต่อไปนี้
1.สมัยรัชกาลที่ 5 มีการร่างรัฐธรรมนูญ(ร่างราชประเพณีใหม่) โดยสมเด็จกรมพระยา เทววงศ์วโรปการ เป็นผู้ร่าง แต่ไม่ได้ประกาศใช้
2.ช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการประกาศเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญขึ้นในลักษณะการปกครองของ คณะนคราภิบาล ปีพุทธศักราช 2461 ที่ใช้เป็นแนวทางการปกครองในดุสิตธานี ซึ่งก็เป็นเมืองจำลองรูปแบบการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยนี่เอง
3.ช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการร่างการใช้รัฐธรรมนูญขึ้นมา 2 ฉบับ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับ การบริหารประเทศไทยต่อไป แต่ไม่ได้ประกาศใช้ ดังนี้
3.1.ร่างรัฐธรรมนูญ ที่เป็นฉบับของพระยากัลยาณไมตรี (เจ. ไอ. เวสเตนการ์ด) ปี พ.ศ.2496
3.2.ร่างรัฐธรรมนูญ ที่เป็นฉบับของนายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ และพระยาศรีวาจา (นายเทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ปี พ.ศ.2474 โดยร่างขึ้นเป็นภาษาอังกฤษที่ใช้ชื่อว่า “An Outline of Changes in the Form Government)
และนี่ก็เป็นที่มาและความสำคัญของ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ที่เป็นระบบการปกครองที่ สำคัญและมีความหมายต่อการดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทยอย่างมากจริง ๆ ทั้งสิทธิและเสรีภาพ ประชาชนนั้นล้วนมาจากการมีอยู่ของ รัฐธรรมนูญ ทั้งสิ้น
แหล่งที่มา : M10_515.pdf,04_9.html
อ่านต่อที่ บุคคลสำคัญ
Credit : สถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศ, สถานที่ท่องเที่ยวในไทย, ของเล่น, ของใช้ผู้ชาย, แต่งงาน