
วันนี้เราจะพาทุกคนไปตีแผ่ เหตุการณ์ รัฐประหาร ในไทย ไปเรียนรู้ว่าการรัฐประหารนั้นคืออะไร และในแต่ละยุคแต่ละสมัยที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนั้นมีการรัฐประหารไปแล้วทั้งหมดกี่ครั้ง และการทำรัฐประหารแต่ละครั้งเป็นอย่างไรมีเหตุผลอะไรในการทำรัฐประหาร ตามไปดูกันเลย
1. รัฐประหารคืออะไร
รัฐประหาร คือ การเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลโดยกลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมืองหรือกองทัพในระบบการเมือง อย่างฉบับพลัน ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและนอกรัฐธรรมนูญ และไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองและสังคม แต่หากมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองและสังคมทั้งหมด และทำการสังหารผู้นำทางการเมืองลักษณะเช่นนี้จะเรียกว่าการปฏิวัติ แต่หากทำการไม่สำเร็จนั้นจะเรียกว่า กบฎ
การรัฐประหาร เป็นเรื่องที่ไม่น่าพึงประสงค์และไม่ควรจะเกิดขึ้นกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะการทำรัฐประหารทำให้การพัฒนาทางด้านการเมืองการปกครอง นั้นหยุดชะงักลงไป และส่วนใหญ่ในการรัฐประหารแต่ละครั้งในไทยก็มักจะมีการสูญเสียเลือดเนื้อจากการรัฐประหารแม้ว่าผู้มีอำนาจในการทำรัฐประหารจะไม่อยากให้มีการสูญเสียก็ตาม และประชาชนตาดำ ๆ อย่างพวกเราก็ไม่อยากให้เกิดการสูญเสียเลือดเนื้อเช่นกัน และหลาย ๆ คนก็คงไม่อยากให้เกิดขึ้นอีกในประเทศไทย
2. การรัฐประหารในไทย
นับตั้งแต่ประเทศไทยของเราได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครอง
แบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เมื่อปี 2475 มาจนถึงวันนี้ก็เรียกได้ว่าผ่านมาแล้ว กว่า 90 ปี โดยระหว่าง 90 ปีนั้น ได้มีการปฏวัติ รัฐประหาร และกบฎมาแล้วหลายครั้งด้วยกัน โดยการรัฐประหารที่สำเร็จมีถึง 13 ครั้ง และล้มเหลวอีก 11 ครั้ง และการปฏิวัติอีก 1 ครั้ง โดยการทำรัฐประหารนั้นเป็นเรื่องที่ขัดต่อกฎหมายนอกรัฐธรรมนูญ และไม่เป็นไปตามครรลองของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และกลายเป็นเรื่องที่คนต้องยอมรับในการทำรัฐประหารทุกครั้งไป และหลาย ๆ ครั้งในการรัฐประหารส่วนใหญ่จะเป็นการ
รัฐประหาร เพราะคนในประเทศกลุ่มหนึ่ง หรือกลุ่มผู้มีอำนาจด้วยกันเองไม่พอใจในการทำงานของรัฐบาล และเห็นว่าการทำงานของรัฐบาลไม่โปร่งใส มีการทุจริตคอรัปชั่นที่ไม่สามารถตรวจสอบได้จึงรวมตัวกันในการประท้วง และเป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายในประเทศที่ไม่สามารถจะควบคุมได้ จึงทำให้มีการเข้ามาของกลุ่มผู้มีอำนาจในการทำรัฐประหารซึ่งก็มักจะอ้างว่าเข้ามาเพื่อคลี่คลายและแก้ไขปัญหาของความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในขณะนั้นโดยปัญหานั้นไม่สามารถแก้ไขได้ในรัฐสภาจึงมีความจำเป็นที่ต้องเข้ามาควบคุมสถานการณ์ไว้ จึงนำไปสู่หนทางแห่งการรัฐประหารของกลุ่มผู้มีอำนาจซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผู้บัญชาการทหารสูงสุด
3. การรัฐประหารในไทยครั้งที่ 1-3
การรัฐประหารครั้งที่ 1 ในวันที่ 1 เมษายน 2476 เป็นการรัฐประหารโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เนื่องจากการเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ที่เรียกว่า สมุดปกเหลือง ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าคล้ายเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ยกพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยไม่มีผู้รับสนอง และประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
ใช้กำลังทหารล้อมสภาไว้และสั่งปิดสภา พร้อมอาวุธปืนและลูกระเบิดตรวจค้นสมาชิกสภาฯก่อนที่จะเข้าประชุม และได้บีบบังคับให้นายปรีดี พนมยงค์เดินทางออกนอกประเทศ เรียกได้ว่าเป็นการรัฐประหารเงียบ
การรัฐประหารครั้งที่ 2 วันที่ 20 ก.ย. 2476 เป็นการรัฐประหาร โดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งเป็นผลจากการตึงเครียดเมื่อครั้งมีการรัฐประหารในครั้งที่ 1 ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยให้เหตุผลว่าเป็นเพราะรัฐบาลกระทำการที่เป็นเผด็จการ ทำลายระบอบใหม่
การรัฐประหารครั้งที่ 3 วันที่ 8 พ.ย. 2490 เป็นการรัฐประหารนำโดย พลโท ผิน ชุณหวัณ โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า คณะทหารของชาติ ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้เป็นการรัฐประหารโดยกลุ่มทหารนอกราชการ ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยอ้างเหตุผลในการรัฐประหารว่า รัฐบาลไม่มีความสามารถในการบริหารแผ่นดินส่งผลให้เศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวยากหมากแพง และมีการฉ้อราษบังหลวงในกลุ่มราชการ และไม่สามารถจะแก้ปัญหาความขัดแย้งในชาติได้เพราะไม่สามารถที่จะชี้แจ้งได้ในกรณีการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 และสนับสนุนให้ จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นทั้งหัวหน้าคณะรัฐประหารและผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย
ประกาศยุบสภาพร้อมกับยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 และนำร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดงออกมาใช้ และรัฐธรรมนูญที่ว่านี้ กำหนดให้รัฐสภา มีวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งวุฒิสภาให้มีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งและมอบหมายให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดตั้งรัฐบาล และในการรัฐประหารครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มของคณะราษฎร เช่น พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และนายปรีดี พนมยงค์รวมทั้งคณะรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล
ต้องลี้ภัยทางการเมือง
4. การรัฐประหารในไทยครั้งที่ 4-6
การรัฐประหารครั้งที่ 4 วันที่ 6 เม.ย. 2491 เป็นการรัฐประหารของกลุ่มคณะรัฐประหารเดิมเมื่อวันที่ 8 พ.ย. กลุ่มที่สนับสนุน จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้ทำการยึดอำนาจนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยเรียกร้องให้จ่ายเงิน 28 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับจากเชียงตุง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้มีการสร้างวาทกรรมด้านการเมือง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับคณะทหารของประเทศชาติ แต่นายควง อภัยวงศ์ไม่ยินยอมจ่ายเงินจำนวนนี้ให้ จึงบังคับให้นายควง อภัยวงศ์ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 เม.ย.2491 และให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม
เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่ารัฐบาลนายควง ไม่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจของประเทศได้ เป็นการรัฐประหารที่ทำการภายในโดยมีนายทหารเพียงไม่กี่คน และไม่มีการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนย้ายกำลังพลใด ๆ จึงเรียกรัฐประหารนี้ว่าเป็นรัฐประหารเงียบ และสื่อมวลชนได้เรียกเหตุการณ์นี้ว่า การจี้นายกรัฐมนตรี
การรัฐประหารครั้งที่ 5 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 การรัฐประหารครั้งนี้ เป็นการรัฐประหารที่แตกต่างไปจากการรัฐประหารที่ผ่าน ๆ มาคือ เป็นการรัฐประหารตัวเอง คือยึดอำนาจตัวเองของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยเป็นการสร้างวาทกรรมภัยคอมมิวนิสต์คุกคามอย่างรุนแรงเข้ามาแทรกแซงในคณะรัฐมนตรีกับรัฐสภา โดยรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขเรื่องคอมมิวนิสต์นี้ได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2492 ที่ใช้นั้นไม่เอื้อต่ออำนาจ ก็คือ ผู้ที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาไปเป็นข้าราชการประจำไม่ได้ เพราะรัฐบาลของคณะรัฐประหารไม่มีพรรคการเมือง และยังมีการคอร์รัปชั่นจนเป็นที่น่าวิตกว่าประเทศจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ จึงเป็นเหตุให้คณะรัฐประหารได้ประกาศยุบสภาและยุบคณะรัฐมนตรี และตั้งคณะบริหารประเทศขึ้นมาชั่วคราว โดยแต่งตั้งสมาชิกสภาประเภท 2 ซึ่งจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศโดยมี จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี โดยเป็นการสนับสนุนจากพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
การรัฐประหารครั้งที่ 6 วันที่ 16 กันยายน 2500 เป็นการรัฐประหารโดยการนำของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาทหารบก เพื่อล้มอำนาจของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยยุติการเมืองสามเส้า และเข้าสู่ยุคการเมืองพ่อขุนอุปภัมถ์แบบเผด็จการและเผด็จการทหาร เนื่องจากขั้วอำนาจของ จอมพล ป. และพลตำรวจเอกเผ่า ได้แพ้ต่ออิทธิพลของ ขั้วอำนาจกลุ่มเจ้าเนื่องด้วย จอมพล ป. ได้นำตัวปรีดี พนมยงค์กลับประเทศเพื่อค้ำจุนอำนาจของตน ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับสถาบันพระมหากษัตริย์มีความเสื่อมลงเนื่องจาก มีการเลือกตั้งที่มีการโกงกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ทำให้นิสิตจุฬาลงกรณ์และมหาวิทยาลัยพร้อมกับประชาชนร่วมเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งและจอมพล ป. สั่งประกาศภาวะฉุกเฉินและแต่งตั้งจอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้ปราบการชุมนุม แต่จอมพลสฤษดิ์กลับเดินนำขบวนผู้ชุมนำเพื่อยุติการเมืองสามเส้าครั้งนี้และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2475 ฉบับแก้ไขปี 2495
5. การรัฐประหารในไทยครั้งที่ 7-9
การรับฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 20 ตุลาคม 2501 การรัฐประหารครั้งนี้สืบเนื่องจาก จอมพล สฤษดิ์รัฐประหารในปี 2500 ในรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม และได้มอบหมายให้พจน์ สารสินดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดการเลือกตั้ง และวันที่ 1 ม.ค. 2501 พลโทถนอม กิตติขจร ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากการเมืองในรัฐสภาไม่สงบเพราะ ส.ส. ในสภาเรียกร้องเอาผลประโยชน์และมีการขู่หากไม่ได้ตามที่ร้องขอก็จะทำการถอนตัวจากการสนับสนุนรัฐบาล และพลโทถนอม กิตติขจร ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ จึงได้ลากออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งยังไม่ได้มีการประกาศแต่อย่างใด ให้กับประชาชนทราบ จากนั้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงได้ประกาศยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างถึงความไม่มั่นคงของประเทศถูกคุกคามทางลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยให้มีคำสั่งคณะปฏิวัติและยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ที่ใช้ในขณะนั้น
ยุบสภา และยกเลิกสถาบันการเมือง ซึ่งการปฏิวัติครั้งนี้จึงเป็นการยกเลิกการเมืองแบบเดิม โดยมีคณะปฏิวัติผู้ซึ่งมีอำนาจเต็มในการบริหารประเทศและได้ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรไทยแบบไม่มีกำหนด ตั้งแต่ 20 ต.ค. 2501 เป็นต้นไป หลังจากสภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอจอมพลสฤษดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี วันที่ 9 ก.พ. 2502 คณะปฏิวัติจึงได้สิ้นสุดลง
การรัฐประหารครั้งที่ 8 วันที่ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เป็นการรัฐประหาร โดยจอมพลถนม กิตติขจร ได้ยึดอำนาจของตัวเอง ซึ่ง ณ ตอนนั้น จอมพลถนอม กิตติขจรเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ทำรัฐประหารตัวเอง เนื่องจาก นายญวง เอี่ยมศิลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีและ ส.ส.อีกหลายคนได้มีการเรียกร้องผลตอบแทนที่จอมพลถนอมได้เคยสัญญาว่าจะให้ในช่วงเลือกตั้ง แต่กลับไม่ได้รับการตอบแทนตามที่สัญญาไว้และขู่จะลาออกบ้าง ทำให้จอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 ยกเลิกวุฒิสภา ยกเลิกคณะรัฐมนตรีและให้หัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ประกาศกฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ยกเลิก พรบ.การเมือง 2511 จัดตั้ง สภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นประธานสภาคณะปฏิวัติ ในการปฏิวัติครั้งนี้เป็นเพียงการกระชับอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อจัดการกลุ่มพลังในรัฐสภาพที่ไม่อาจควบคุมได้ โดยวันที่ 15 ธันวาคม 2515 ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2515 เพื่อออกกฎหมายและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐมนตรีเสนอมาให้พิจารณาและมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐบาลได้แต่ห้ามอภิปรายหรือซักถามเพิ่มเติมและไม่มีอำนาจเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี และรัฐธรรมนูญฉบับนี้ห้าม
รัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้มีมติให้จอมพลถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
การรัฐประหารครั้งที่ 9 วันที่ 6 ต.ค. 2519 เป็นการรัฐประหารนำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช
ในวันที่ 19 กันยายน 2519 จอมพลถนอม กิตติขจร เดินทางกลับไทยและบวชเป็นพระภิกษุ ได้เกิดมีการประท้วงขับไล่ในหลายจังหวัดและต่อมาพบศพชาย 2 คนถูกแขวนคอที่ข้างถนนจังหวัดนครปฐม โดยมีความเชื่อว่าเป็นการกระทำของตำรวจ เพราะว่าผู้ตายทั้งสองคนเป็นคนที่ไปปิดโปสเตอร์ประท้วงพระถนอม และนักศึกษาได้นำกรณีนี้ไปแสดงเป็นละครที่ ม.ธรรมศาสตร์ และได้เกิดการกล่าวหาว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องจากมีการแต่งหน้าเหมือนองค์รัชทายาท จึงมีกลุ่มติดอาวุธเข้าล้อม ม.ธรรมศาสตร์ มีความรุนแรงเกิดขึ้นโดยการยิงระเบิดเอ็ม 79 เข้าไปในธรรมศาสตร์ ทำให้ตำรวจตระเวนชายแดน ลูกเสือชาวบ้าน กล่มอันธพาลบุกเข้าไปทำร้ายนิสิตนักศึกษาได้รับ
บาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา และรัฐบาล ม.ร.ว เสนีย์ ปราโมช ไม่สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบได้ เป็นเหตุให้คณะทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ ร่วมด้วยอธิบดีกรมตำรวจ โดยเรียกว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดยพลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ ยึดอำนาจการปกครอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 และใช้คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเป็นกฎหมายในการปกครองชั่วคราวประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร และได้แต่งตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรี
6. การรัฐประหารในไทยครั้งที่ 10-13
การรัฐประหารครั้งที่ 10 วันที่ 20 ตุลาคม 2520 เป็นการรัฐประหารโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด สืบเนื่องจากการรัฐประหารเมื่อ 6 ต.ค. 19 ที่นำโดยพลเรือเอกสงัด ได้แต่งตั้งนายธานินทร์ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ซึ่งรัฐบาลมีภารกิจที่ต้องทำคือ ปฏิรูปการเมืองให้แล้วเสร็จภายใน 12 ปี และทางคณะปฏิรูปมองว่านานเกินไป และสถานการณ์ในช่วงนั้นก็ยังไม่สงบ จึงได้ประกาศรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง และการรัฐประหารครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นการรัฐประหารตัวเองเพื่อกระชับอำนาจ โดยให้เหตุผลในการรัฐประหารครั้งนี้ว่า รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพได้ และยังปิดกั้นทางด้านความคิดของประชาชน รวมถึงท่าทีของรัฐบาลต่อการลอบวางระเบิดใกล้ที่ประทับของ รัชกาลที่ 9 ในจังหวัดยะลา
การรัฐประหารครั้งที่ 11 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เป็นการรัฐประหารโดยพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหวัณโดยเรียกว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 แทน แต่งตั้งให้นายอานันท์ ปันยารชุนเป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดยการรัฐประหารครั้งนี้ให้เหตุผลด้วยกัน 5 ข้อ คือ การทำลายสถาบันทหาร มีพฤติการณ์การฉ้อราษฎร์บังหลวง รัฐบาลเป็นเผด็จการรัฐสภา การบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ปี 2525 ข้าราชการการเมืองใช้อำนาจกดขี่ข้าราชการประจำที่ซื่อสัตย์สุจริต
การรัฐประหารครั้งที่ 12 วันที่ วันที่ 19 กันยายน 2549 การรัฐประหารครั้งนี้ภายใต้การนำโดย พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นการยึดอำนาจก่อนมีการเลือกตั้งทั่วไป หลังจากที่การเลือกตั้งทั่วไปในเดือนเมษายนได้สั่งให้เป็นโมฆะ จึงทำให้เกิดเป็นวิกฤตทางการเมือง นับแต่เดือนกันยายน 2548 เป็นต้นมา คณะรัฐประหารได้สั่งยกเลิกการเลือกตั้งทีมีกำหนดจัดในเดือน ต.ค. ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 สั่งยุบรัฐสภา ยับยั้ง
และตรวจพิจารณาสื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก จับกุมรัฐมนตรีหลายคนประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 และแต่งตั้งพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดยให้เหตุผลการทำรัฐประหารครั้งนี้คือ การบริหารของรัฐบาลก่อปัญหาความขัดแย้ง แบ่งฝ่าย คนในชาติขาดความสามัคคีอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ต่างจะเอาแต่ชนะด้วยวิธีการที่หลากหลายรูปแบบและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น มีการบริหารที่ส่อไปทางทางทุจริต ประพฤติมิชอบขยายออกไปอย่างกว้างขวาง รวมทั้งหน่วยงานองค์กรอิสระก็ถูกครอบงำทางการเมือง และหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ การรัฐประหารครั้งที่ 12 วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ นายกรัฐมนตรีหลังจากที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากพรรคเพื่อไทย ชนะการเลือกตั้งปี 2554 นำโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เสนอร่างพรบ.นิรโทษกรรม หรือขณะนั้นเรียกกันว่าพรบ. นิรโทษกรรมสุดซอย ทำให้เกิดการต่อต้านจากกลุ่ม กปปส (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สูมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) จัดตั้งโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งเป็นอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ประกาศยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 2 ก.พ. แต่การเลือกตั้งไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะการต่อต้านของ กลุ่ม กปปส. และศาลสั่งใหการเลือกตั้งเป็นโมฆะ ประกอบกับวันที่ 7 พ.ค. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐมนตรีที่มีมติย้ายข้าราชการระดับสูงที่เป็นที่โต้เถียงกัน ปี 2554 พ้นจากตำแหน่งจึงส่งผลให้นายนิวัฒน์ธำรง บุญส่งไพศาล รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยให้เหตุผลในการรัฐประหารครั้งนี้ว่า เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และทำให้บ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปกติโดยจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน แผ่นดินที่งดงามจะคืนกลับมา
เป็นอย่างไรกันบ้างกับตีแผ่ เหตุการณ์ รัฐประหาร ในไทย ซึ่งตั้งแต่การเริ่มการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พ.ศ. 2475 มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็ร่วมกว่า 90 ปีแล้วนั้น ไทยเราได้มีการรัฐประหารมาแล้วทั้งสิ้น 13 ครั้ง โดยแต่ละครั้งก็มีทั้งรัฐประหารตัวเอง และรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมีทั้งการเสียเลือดเสียเนื้อ ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าเหตุผลที่เข้ามารัฐประหารนั้นต่างอ้างมาจากเหตุผลในเรื่องที่ใกล้เคียงกันในทุกยุคทุกสมัยก็คือ รัฐบาลมีแนวโน้มลัทธิคอมมิวนิสต์และไม่สามารถบริหารจัดการบ้านเมืองให้สงบสุขและมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง เกิดเหตุความไม่วุ่นวายที่ไม่สามารถจัดการได้ และในเหตุผลเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้จึงเป็นเหตุให้เข้ามารัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งในการรัฐประหารแต่ละครั้ง ประชาชนตาดำ ๆ อย่างพวกเราก็ต้องทนก้มหน้ารับผลของการรัฐประหารต่อไป และเชื่อได้อย่างแน่นอนว่าจะต้องมีเกิดขึ้นอีกในอนาคตซ้ำแล้วซ้ำอีก หากยังมีผู้มีอำนาจที่เห็นแก่ผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก
เครดิตรูป
thairath
อ่านต่อที่ สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นจากอะไร ทำไมถึงเกิดขึ้นกันนะ