เหตุการณ์นี้เริ่มมาจากความขัดแย้งระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 และราชอาณา จักรสยาม เหตุเริ่มในปีพ.ศ. 2429 ระยะเวลาของเหตุการณ์ ร.ศ.112 คือ วันที่ 13 กรกฎาคม – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436
วิกฤตการณ์สงครามครั้งนี้มีเกิดมาจากความขัดแย้งเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศไทยและฝรั่งเศสทำให้แผ่ขยายวงกว้างออกไปกระทบกับเรื่องคนในบังคับและธุรกิจของคนในบังคับ ในขณะที่ความขัดแย้งนี้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตัวผู้ แทนทางการทูตของทั้งสองฝ่ายจึงเริ่มใช้กำลังทหาร เพื่อต้องการเข้าปกครอง พื้นที่ที่อยู่ในความขัดแย้งกันนี้โดยตรง
ทั้งนี้เพื่อต้องการสร้างความได้เปรียบในการเจรจาครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ด้วยความเด็ดเดี่ยวเกินไป ทำให้ความริเริ่มของนักการทูต และ นักการทหาร ฝรั่งเศสทำให้เกิดการรบที่ปากน้ำขึ้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2436 การศึก ครั้งนี้จบลงด้วยชัยชนะของเรือรบฝรั่งเศส
ในขณะที่ฝ่ายไทยนั้น หลังจากที่กองกำลังรักษาปากน้ำได้พ่ายแพ้ เพราะการขาด กองสนับสนุนจากอังกฤษ และการปิดถูกน่านน้ำไทยจากเรือรบฝรั่งเศส จึงทำให้ ไทยต้องยอมอ่อนข้อต่อฝรั่งเศสแบบไม่มีเงื่อนไข และท้ายที่สุดแล้ววิกฤตการณ์ สงครามครั้งนี้ก็จบลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญากรุงเทพฯ ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ระหว่างฝรั่งเศสและทางรัฐบาลไทย
โดยสนธิสัญญาฉบับนี้ ทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายติดแม่น้ำโขง และได้เสียอำนาจการปกครองคนในบังคับชาวอินโดจีนให้กับฝรั่งเศส และนอกจากนี้ฝรั่งเศสยังได้เข้ายึดครองจังหวัดจันทบุรี และยังเตรียมวางแผน การที่จะยึดพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณและฝั่งด้านขวาของแม่น้ำโขง เข้าไว้ในสนธิสัญญาฉบับนี้อีกด้วย
หนึ่งในความขัดแย้งก่อนสงครามในครั้งนี้ คือความตายของ “มาสสี่” (Affaire de massie) ซึ่งคือ พันตรีพีรพลที่มองว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลอาณานิคมของอินโดจีน อาจบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อที่จะโน้มน้าวให้รัฐบาลกลางที่ฝรั่งเศสได้ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดจัดการ “สยาม” โดยอ้างว่า มาสสี่ เจ้าหน้าที่สถานกงสุลฝรั่งเศสในหลวงพระบาง ผู้ซึ่งเคยเป็นสมาชิกคณะสำรวจ Mission Pavie ที่ได้ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว เป็นเพราะได้รับการข่มเหงจากคนไทย และที่สำคัญ มาสสี่ไม่เคยที่จะได้รับ ความเห็นใจและรวมถึงการสนับสนุนจากรัฐบาลที่ฮานอยและปารีสเลย เช่นนั้น เขาจึงได้ทำการฆ่าตัวตาย ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ที่บริเวณหน้า เมืองจำปาสัก
พันตรีพีรพล ได้กล่าวอีกว่า การตายของมาสสี่นั้น ทำให้’ลาเนสซ็อง’ ผู้ว่าราชการเวียดนามตอนใต้ และผู้นำจักรวรรดินิยมคนสำคัญของฝรั่งเศส จำต้องเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องนี้ โดยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมา และผลการสอบสวนปรากฏชัดเจนว่าเป็นการฆ่าตัวตาย ด้วยเหตุผลดังกล่าวอย่าง ที่อ้างถึงจริง ทางฝรั่งเศสจึงได้เริ่มปฏิบัติการด้วยวิธีการรุกทั้งทางด้านทหาร และด้านการทูตต่อประเทศไทย แต่ทั้งนี้พบว่าหนังสือพิมพ์ในไซง่อนและ ในอ่าวตังเกี๋ยกลับรายงานว่ามาสสี่นั้นได้ป่วยตาย จึงเป็นไปได้ว่า ข้าราชการชาว อาณานิคมนั้นต้องการที่จะใช้ตายของมาสสี่ให้เป็นประโยชน์โดยการผลักดันให้ฝรั่งเศสใช้มาตการเด็ดขาดกับประเทศไทย
แต่สิ่งที่ชี้นำความขัดแย้งของทั้งสองชาติไปสู่จุดแตกหักจนนำไปสู่สงคราม ร.ศ.112 คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่แก่งเจ๊ก เมืองคำม่วน ที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในคืนวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2436 โดยหลังการปะทะกันของทั้งสองฝ่ายนั้น ทำให้ฝ่ายฝรั่งเศสมีผู้ตาย 12 คน และในจำนวนนี้มีนายทหารชาวฝรั่งเศส ชื่อกรอสกุแรง รวมอยู่ด้วย ส่วนทหารไทยมีผู้ตาย 6 คน หัวหน้าทหารสยาม ที่อยู่ในการปะทะครั้งนั้นคือ พระยอดเมืองขวาง ข้าหลวงของเมืองคำเกิดคำม่วน
จากการตายของนายกรอสกุแรง ทำให้ฝั่งของฝรั่งเศสโกรธมาก ถึงกับได้กำหนดไว้ในเงื่อนไขคำขาดของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่า เสียหายจำนวนนับล้านฟรังก์ ที่ทางไทยต้องรับผิดชอบ และเป็นเหตุการณ์ เริ่มต้นที่จุดชนวนให้การบุกรุกกรุงเทพฯ นั้นระเบิดขึ้น
อ่านบทความ โฮจิมินห์ นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ วีรบุรุษของชาวเวียดนาม