การเงินนั้นนับว่าไม่มีความแน่นอนได้เลย และยิ่งขาดการวางแผนที่ดีด้วยแล้ว อาจจะต้องพบเจอ กับสถานการร้ายแรงขึ้นได้อย่าง วิกฤตต้มยำกุ้ง ที่ประเทศไทยเรานั้นได้เคยเผชิญมาแล้ว โดยตลาดหุ้นไทยที่ได้ก่อตั้งมานานมากกว่า 50 ปี นี้ได้เจอกับวิกฤตที่มีการส่งผลต่อตลาดหุ้น หลายครั้ง โดยมีวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือวิกฤตการเงินในเอเชีย ปี พ.ศ. 2540 ที่นับว่าเป็นวิกฤต ครั้งที่ใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นมาในประเทศไทย โดยส่งผลทำให้ตลาดหุ้นนั้นปรับตัวลดลงจาก 1,200 จุด สู่ 200 จุด ซึ่งวิกฤตต้มยำกุ้ง นี้กินระยะเวลายาวนานถึง 3 ปี เลยทีเดียว ซึ่งนั่นทำให้ตลาดหุ้นมีมูลค่าลดลงไป ถึง 3 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว แล้ววิกฤตต้มยำกุ้ง นี้เกิดขึ้น ได้อย่างไรนั้น คำตอบอยู่ข้างล่างนี้แล้ว
วิกฤตต้มยำกุ้ง ส่งผลอย่างไร
วิกฤต ต้มยำกุ้ง เป็นวิกฤตการณ์การเงินในภูมิภาคเอเชีย ในปี พ.ศ. 2540 หรือเรียกทั่วไปและรู้จักกันดี ในประเทศไทยว่า “วิกฤต ต้มยำกุ้ง” เป็นช่วงของวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงหลาย ประเทศในแถบทวีปเอเชีย โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่านี่ อาจจะเกิดการล่มสลายลงทางเศรษฐกิจทั่วโลก เพราะเนื่องจากการแพร่ระบาดในด้านทางการเงินวิกฤตดังกล่าวนี้เริ่มขึ้นในประเทศไทย โดยเมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากนั้น ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรี จากการที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอ้างอิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐไป โดยหลังจากความพยายาม ทั้งหมดที่ต้องการจะสนับสนุนค่าเงินบาทที่เมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายไปแบบเกินเลยทางการเงิน (financial overextension) อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของขับเคลื่อนอสังหาริมทรัพย์ ในช่วงเวลานั้น ประเทศไทยได้มีภาระหนี้สาธารณะขึ้นมา และเมื่อวิกฤตดังกล่าวนี้ได้ขยายออกนอก ประเทศ ค่าเงินของประเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ในแถบของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศญี่ปุ่น ก็ได้ทรุดตัวลงด้วยเช่นกัน ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงและรวมไปถึงบรรดาราคาสินทรัพย์อื่น ๆ และทำให้หนี้เอกชนนั้นเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
สาเหตุของ วิกฤตต้มยำกุ้ง
1. เกิดจากประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน
ย้อนไปในช่วงปลายปี 2539 รัฐบาลได้สั่งปิดสถาบันการเงินมากกว่า 20 แห่ง โดยเกิดจากความไร้ประสิทธิภาพทางการดำเนินงาน ซึ่งในตอนนั้นในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ธนาคารต่าง ๆ ปล่อยกู้ให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยที่ไม่ได้ตรวจสอบผู้กู้ให้ละเอียดในด้านของความสามารถในการจ่ายหนี้ ทำให้เกิดหนี้เสียที่มาก ขึ้น ทำให้ธนาคารต่าง ๆ นี้ หรือสถาบันการเงินได้ขาดสภาพคล่อง ทำให้ NPL สูงถึง 52.3 % ของสินเชื่อรวม ในปี 2542
2. เกิดจาการการลงทุนเกินตัว
สาเหตุของ วิกฤต ต้มยำกุ้ง นี้เกิดขึ้นโดยในช่วงระหว่างปี 2530-2539 อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวสูงนั้นคงหนีไม่พ้น ทางอุตสาหกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ เพราะการที่จะหาเงินทุนในตอนนั้นเป็นเรื่องสามารถทำได้ง่าย ทำให้ มีผู้ร่วมลงทุนใน อาคารสูง คอนโด หรือตึกสำนักงานกันมากทำให้ราคาของที่ดินต่าง ๆ นั้นเพิ่มสูงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ขึ้น ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในปัจจุบันนี้เองในกรุงเทพก็ยังมีตึกล้างหลายแห่งที่หลงเหลือจากวิกฤตในครั้งนั้นให้เห็นอยู่ด้วย
3. เกิดจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ในที่นี้คือการที่เงินไหลออกไปนอกประเทศมากกว่าเงินไหลเข้าประเทศ นั่นเอง โดยเศรษฐกิจไทยที่มีการเติบโตต่อเนื่องจนถึงในช่วงของปี พ.ศ. 2530 ดุลัญชีเดินสะพัดที่เติบโตนั้นก็เริ่มขาดดุล ซึ่งในการขาดดุลของบัญชีเดินสะพัดนี้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงในปี พ.ศ. 2539 ประเทศไทยก็เกิดประสบปัญหาของบัญชีเดินสะพัดขาดดุลถึง 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว ซึ่งเกิดจากการลดลงในภาคธุรกิจส่งออกโดยลดลงถึง 1.9 % ซึ่งถ้าเปรียบเทียนกับปีก่อนหน้าที่ภาคการส่งออกนั้นได้ขยายตัวถึง 24 % เป็นการแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยในช่วงขณะนั้นพึ่งพาธุรกิจส่งออกเป็นส่วนสำคัญ เมื่อรายได้หลักนี้หายไป จึงส่งผลทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลง
4. เกิดจากปัญหาหนี้สินต่างประเทศ
วิกฤต ต้มยำกุ้ง ปัญหานี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2532 – 2537 ที่มีการประกาศในเปิดเสรีทางการเงิน โดยมีการกำหนดของ ค่าเงินบาทไว้ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การกู้ยืมเงินมาจากต่างประเทศนั้นง่ายขึ้น เพราะไม่มีความเสี่ยงที่มาจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยตอนนั้นสถาบันการเงินต่าง ๆ ในประเทศไทย ได้กู้เงินมาจากต่างประเทศมาปล่อยกู้ให้กับนักธุรกิจภายในประเทศไทย ทำให้ประเทศไทย ในตอนนั้นมีหนี้สินสูงถึง 109,00 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
5. เกิดจากการโจมตีค่าเงินบาท
จากปัญหาเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและกินเวลานาน ทำให้เป็นการเปิดโอกาส ให้นักลงทุนต่างชาติได้เข้ามาโจมตีกับค่าเงินบาทไทย ซึ่งเป็นนักลงทุนขนาดใหญ่ที่ต่าง ระดมเงินทุนเข้ามาเพื่อเก็งกำไร ค่าเงิน โดยจัดตั้งกองทุนขึ้นมาในชื่อว่า Hedge Funds ซึ่งดูแลโดย จอร์ต โซรอส โดยที่อาศัยข้ออ้างทางเศรษฐกิจ ปล่อยลืมว่าจะมีการลดค่าเงินบาท
6. เกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบาย
สาเหตุของการเกิด วิกฤตต้มยำกุ้ง ข้อนี้เกิดขึ้นในปี 2536 ที่ได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้งของกิจการ วิเทศธนกิจ โดยที่มีการอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเงินทุนได้อย่างเสรี โดยที่ไม่ได้มีการกำกับดูแล อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เหตุนี้ไม่สามารถตรวจสอบความละหลวมในการที่ปล่อยกู้ได้อย่างรวดเร็ว จึงมีผลทำให้ประเทศไทยขาดเสถียรภาพในระบบการเงินลง
และนี่ก็เป็นเรื่องราวของ วิกฤตต้มยำกุ้ง การเงินประเทศไทยที่เรียกได้ว่าหนักหนาสุด ๆ ในหน้าประวัติศาสตร์ไทยเลย ทีเดียว และนับว่าเป็นบทเรียนราคาแพงของประเทศไทยไปอีกนานแน่นอน
แหล่งที่มา : วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย_พ.ศ._2540,1013298
อ่านต่อที่ ประวัติศาสตร์โลก