วิกฤติ แฮมเบอร์เกอร์ หรือวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์เป็นวิกฤตการเงินของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก เริ่มจากการที่ภาวะฟองสบู่แตกในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาและการผิดชำระหนี้ของสินเชื่อซับไพรม์และสินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัวเริ่มตั้งแต่ปี 2005-2006 และปัญหาเริ่มปรากฏชัดขึ้นในช่วงปี 2007แล้วก็เจอปัญหาอย่างหนักในช่วงปี 2008 วิกฤตนี้นับเป็นวิกฤตการเงินที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1
วันที่ 15 กันยายนนวันครบรอบวิกฤตการเงินทั่วโลก หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์’ หรือ ‘วิกฤตซับไพรม์’ ย้อนเหตุการณ์กลับไปเมื่อ 1 ทศวรรษที่แล้ว เลห์แมน บราเธอร์ส สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ได้ยื่นขอล้มละลายอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 กันยายน ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นในเชิงสัญลักษณ์ของวิกฤตการเงินทั่วโลกที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ ‘วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburgur Crisis)’ โดยวิกฤตครั้งนั้นสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นวงกว้าง จนแม้ทุกวันนี้เศรษฐกิจของหลายประเทศก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวเต็มที่หรือขยายตัวได้เท่ากับช่วงก่อนเกิดวิกฤต พูดตามประสาชาวบ้านก็คือยังโงหัวไม่ขึ้นนับแต่นั้น
จุดเริ่มต้นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
จุดเริ่มต้นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ มาจาก เลห์แมน บราเธอร์ส สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งประกาศล้มละลายในวันนั้น และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก วิกฤตครั้งนั้นถือว่าเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1จากภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ สืบเนื่องจากการเก็งกำไรในตลาดที่อยู่อาศัย เพราะธนาคารปล่อยสินเชื่อที่มีความน่าเชื่อถือต่ำหรือด้อยคุณภาพ (Subprime) มากจนเกินไป ซึ่งนั่นก็เป็นที่มาของชื่อวิกฤตอีกชื่อว่า ‘วิกฤตซับไพรม์’ นั่นเอง
สาเหตุวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์
1. วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ก็คือสหรัฐอเมริกามีทุนไหลเข้าไปในประเทศมากเกินไปจนล้นออกไปใน ภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้เกิด ฟองสบู่ เก็งกำไรกันขึ้น ต้นเหตุที่ทำให้สหรัฐอเมริกามีเงินทุนไหลเข้ามากและได้มาในราคาต่ำกว่าชาวโลกอื่นๆ ก็เนื่องจากเงินดอลลาร์ของสหรัฐเป็นเงินสกุลหลักซึ่งเป็นที่เชื่อถือของชาวโลกมายาวนาน นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหลังเหตุการณ์ 1 กันยายน 2001 ที่คนในสหรัฐกู้เงินผ่อนบ้านกันได้ง่ายเกิดการเก็งกำไรจนเป็นฟองสบู่ นักค้าเงินรับ จำนอง [3] อสังหาริมทรัพย์ โดยไม่กังวลว่าฟองสบู่ อสังหาริมทรัพย์ [4] จะแตกและเชื่อว่าระยะต่อไปราคาบ้านมีแนวโน้มสูงขึ้นคุ้มกับการลงทุน
2. คือ ความโลภใน ธุรกิจการจำนอง mortgage ผู้ทำธุรกิจไม่ว่าธนาคารเพื่อที่อยู่อาศัย สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย วานิชธนกิจ ฯลฯ คิดประดิษฐ์ตราสารไม่ว่าจะเป็นหุ้นกู้ หุ้นหรือ อนุพันธ์ (derivatives) ประหลาดๆ ออกมากมายหลายตัวที่ไม่มีใครเข้าใจ ถึงผลกระทบหากว่ามันมีการผันผวนไปในทางลบ ตราสารเหล่านี้ใช้กันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงและป้องกันความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง
3. ความไม่รู้ของคนซื้อตราสารใหม่ๆเพราะให้ผลตอบแทนสูงและดูปลอดภัยแต่ไม่เข้าใจท่องแท้
ผลกระทบจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
อย่างไรก็ตามวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์นั้นส่งผลต่อภาคการเงินของสหรัฐอเมริกากับยุโรปเป็นอย่างหนักทั้งสหรัฐอเมริกากับยุโรปเจอ
ผลกระทบจากวิกฤตนี้คือบริษัทใหญ่ๆหลายบริษัทเกิดการขาดทุนอย่างหนักและอัตราการว่างงานก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนและรวมถึง GDP ที่ลดลงด้วยแต่
สำหรับภาพรวมของฝั่งเอเชียนั้นไม่ได้รับผลกระทบหนักเท่ากับสหรัฐอเมริกาและยุโรปถึงแม้ว่าในช่วงแรกๆหลายประเทศจะเจอปัญหาสภาพคล่องอัตราแลกเปลี่ยนกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จนทำให้เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรงช่วงไตรมาส 3 ปี 2007 แต่ก็เริ่มกลับมามีทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ปี 2008 ได้อีกครั้ง
ประเทศไทยได้รับผลกระทบขนาดไหน ?
ผลกระทบวิกฤต “แฮมเบอร์เกอร์ (พ.ศ.2550)” ดัชนีราคาหุ้นตกต่ำ ตลาดหุ้นทั่วโลกตกต่ำลงอย่างมาก ทำให้การลงทุนของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย ลดลงอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจชะลอตัว จากปัญหาวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ทำให้เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยชะลอตัว ส่งผลให้การส่งออกของไทยชะลอตัวลงไปด้วย
เป็นวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระต่อเศรษฐกิจโลกเนื่องจากเป็นประเทศมหาอำนาจ จึงทำให้กระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้างผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับส่วนใหญ่เป็นผลกระทบทางอ้อมแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์นั้นก็ทำให้การส่งออกของไทยไปยังสหรัฐอเมริกานั้นมีการชะลอตัวลงเพราะสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดผู้บริโภคอันดับ 1 ของโลกและยังส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกอีกด้วย
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่มีอะไรแน่นอนคือความแน่นอน ถึงแม้ว่าเราจะไม่ทำอะไรที่ก่อวิกฤต แต่คนอื่นก็อาจจะทำเรื่องให้เกิดวิกฤตก็ได้ สุดท้าย เราก็หนีวิกฤตไม่พ้นอยู่ดี
ขอบคุณรูปจาก
www.thairath.co.th
อ่านต่อที่ เหตุการณ์สำคัญ