วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเกี่ยวกับ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย เพื่อศึกษาถึงอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งลุ่มแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรติส ซึ่งเป็นแห่งกำเนิดอารยธรรมที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ไปดูกันว่าแต่ละอาณาจักรและอารยธรรมที่ปรากฎมีอะไรกันบ้าง ไปดูกันเลย
1. เมโสโปเตเมีย
เมโสโปเตเมีย เป็นดินแดนแห่งลุ่มแม่น้ำไทกรีส และแม่น้ำยูเฟรทิสซึ่งดินแดนแห่งนี้มีอาณาบริเวณที่กว้าง มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมที่ทอดขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดที่อ่าวเปอร์เซีย จึงทำให้มีลักษณะแผ่นดินเป็นพระจันทร์เสี้ยวที่อุดมสมบูรณ์ และมีจุดเชื่อมต่อกับอารยธรรมของอียิปต์โบราณ และเป็นแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยภูมิศาสตร์ของเมโสโปเตเมีย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำทำให้บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ทำให้เหมาะแก่การเพาะปลูก ถึงแม้ว่าสภาพอากาศอาจจะมีความแปรปรวนไปบ้างก็ตาม และที่นี่ก็มีความสำคัญต่อการทำการชลประทานเหมาะกับการทำกสิกรรม และยังมีความสะดวกสบายในเรื่องของการขนส่งค้าขายทางทะเลกับอารยธรรมอื่นที่ห่างไกลออกไปเพราะมีพื้นที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้วยเหตุที่มีความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ทำให้เป็นพื้นที่หมายปองของกลุ่มชนต่าง ๆ ที่จะเข้ามาอยู่ตั้งรกรากถิ่นฐานสร้างบ้านร้างเรือนและอารยธรรมต่าง ๆ ซึ่งมีกลุ่มใดบ้างไปนั้นตามไปดูกันได้เลย
2. อาณาจักรสุเมเรียน (Sumerian)
ชาวสุเมเรียน คือกลุ่มคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานและสร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ในช่วง 3000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวสุเมเรียนนั้นได้สร้างเมืองอาณาจักรของตนเองขึ้นมาเรียกบริเวณนี้ว่า ซูเมอร์ และเป็นผู้คิดค้นตัวอักษรขึ้นมาเป็นครั้งแรกของโลกซึ่งเป็นตัวอักษรลิ่ม (Cuneiform) โดยการใช้ปลายก้านอ้อเขียนบนแผ่นดินเหนียว และมีการคิดเลขหลัก 60 ที่ใช้นับเวลา และการแบ่งวงกลม 360 เริ่มมีปฏิทินโดยแบ่งออกเป็น 12 เดือน หรือ 365 วัน และได้สร้างเขื่อนเก็บน้ำเพื่อเป็นระบบชลประทาน ในส่วนของสังคมนั้น จะมีขุนนาง นักบวช และชนชั้นสามัญ ซึ่งจนักบวชในสมัยนี้มีอำนาจมาก และมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นก็คือ ซิกกูรัต (Ziggurat) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของทุกนคร สร้างเป็นเนินอิฐที่สูง และด้านบนสุดของซิกกูรัตแห่งอูรุคเรียกว่าวิหารขาว ได้สร้างเพื่อถวายแก่เทพเจ้าเพื่อให้เทพเจ้าเสด็จลงมาติดต่อกับผู้คน เพราะชาวสุเมเรียนมีความเชื่อในเรื่องของเทพเจ้า
จึงทำให้มีปฏิมากรรมนั้นเป็นเทพแห่งความเชื่อต่าง ๆ โดยมีประติมากรรมหินอ่อน รูปใหญ่ที่สุดสูงถึง 30 นิ้ว คือ เทพอาบู และรูปอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กลงมาคือพระชายา พระ และรูปผู้ศรัทธาเมืองเทลอัสมาร์ ในส่วนของเทพอาบูนั้นนอกจากจะสูงที่สุดแล้วยังมีตาโตที่สุด ซึ่งตาโตนั้นมีความหมายว่าความรอบรู้มาก เห็นมาก จึงจะเป็นผู้ที่มีอำนาจและมีความยุติธรรม และยังมีฮาพหรือพิณที่ตกแต่งให้เป็นรูปหัววัวมีเครา พบจากเมืองอูร์ ซึ่งคาดว่าน่าจะพัฒนามาจากคันธนู ซึ่งปัจจุบันนี้ก็คือประเทศอิรัก
3. อาณาจักรอัคคาเดียน (Akkadian)
ด้วยความที่เมโสโปเตเมียมีความเจริญรุ่งเรืองทำให้กลุ่มของอัคคาเดียนที่เป็นกลุ่มคนเร่ร่อนเผ่าเซมิติค (semities)และเป็นบรรพบุรุษของชาวยิวมาจากทะเลทรายอาหรับได้เข้ามามายึดครองเมืองแทนที่ชาวสุเมเรียน โดยมีกษัตริย์ชื่อ พระเจ้าซาร์กอน ในช่วงปี 2360 ก่อนคริสตกาลซึ่งชาวอัคคาเดียนมีความเชื่อว่ากษัตริย์เป็นสมมติเทพ และเทพเจ้าของอัคคาเดียนคือ มาดุก หลังจากนั้นกษัตริย์นารัมซิน ซึ่งก็คือหลานของกษัตริย์พระเจ้าซากอน ได้มีการยึดเมืองซูเมอร์และขยายอาณาเขตไปถึงเมดิเตอร์เรเนียนทำให้มีการขยายอารยธรรมเมโสโปเตเมียที่กว้างใหญ่ขึ้น จึงกลายเป็นจักรวรรดิแรก ซึ่งได้รับเอาวัฒนธรรมของซูเมอร์มาปรับใช้ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งภาษาและวิถีชีวิตโดยแท่นศิลาได้จารึกชัยชนะของกษัตริย์นารัมซินที่ได้ขยายอาณาเขตทำให้นารัมซินมีขนาดใหญ่ที่สุด
4. อาณาจักรบาบิโลเนีย (Babylonian)
ชาวอะมอไรต์ได้อพยพมาจากทะเลทรายทางซีเรียและได้เข้ายึดครองดินแดนเมโสโปเตเมีย ได้ตั้งอาณาจักรบาบิโลน โดยมีกรุงบาบิโลนเป็นเมืองหลวง โดยมีฮัมมูราบี เป็นกษัตริย์ ผู้สร้างความยิ่งใหญ่และความเจริญรุ่งเรืองแห่งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย และมีการปกครองรวมศูนย์อำนาจ มีการเริ่มจัดเก็บภาษีรวมถึงการเกณฑ์ทหาร และที่สำคัญคือได้ออกกฎหมายเรียกว่าประมวลกฎหมายฮัมมูราบี เป็นลายลักษณ์อักษรที่จารึกบนแผ่นศิลาหิน ซึ่งกฎหมายมีลักษณะ ตาต่อตาและฟันต่อฟัน มีบทลงโทษที่โหดเหี้ยมและเพื่อให้กฎหมายที่ใช้ในการปกครองบ้านเมืองอย่างยุติธรรมจึงมีหลักการของกฎหมายนี้คือ การถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนรอจนกว่าจะได้รับการพิจารณาว่าผิด และประติมากรรมของสมัยนัั้นคือ ประติมากรรมบแท่งหินสีดำ สลักรูปพระเจ้าฮัมมูราบีไว้ที่หลักศิลาจารึก กำลังยกมือแสดงความคารวะต่อเทพชามาส เทพแห่งดวงอาทิตย์
5. อาณาจักรแอสซีเรยี (Assyrian)
เมื่อกษัตริย์ฮัมมูราบีได้สิ้นอำนาจ ชาวฮิตไตท์ แคสไซส์ อีลาไมล์และอีกหลายชนเผ่าที่เข้ามายึดครองเมืองเมโสโปเตเมียและชาวอัสซีเรียนก็เป็นหนึ่งในนั้น และเป็นกลุ่มชนที่มีบทบาทมากที่สุดในการสร้างความโดดเด่นของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นกลุ่มชนที่ใช้ภาษาคล้ายกับเซมิติก และมีกองทัพที่แข็งแกร่งและมีระเบียบมาก ได้ยึดครองเมโสโปเตเมียไว้ทั้งหมด โดยมีเมืองคาลาห์ เมืองเดอชาร์รูกิ้น และเมืองนินีเวห์เป็นเมืองหลวง และพระเจ้าซาร์กอนที่ 2 เป็นกษัตริย์ครองเมือง และได้มีการสร้างพระราชวังคอซาบัดที่มีขนาดใหญ่ของกษัตริย์ซาร์กอนที่ 2 สมัยนี้มีประติมากรรมสัตว์ผสมจัดวางไว้ที่ประตูทางเข้าพระราชวังคอซาบัดรูปทรงที่แปลกตาโดยมีใบหน้าเป็นกษัตริย์ซาร์กอน และลำตัวเป็นวัวห้าขา และในยุคของกษัตริย์อัสซูนาสิปาลถือได้ว่าเป็นยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด ส่งผลให้เทพอสูร (Assur) เทพประจำเมืองอัสซูร์ ได้รับการยกย่องและนับถือขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวางต่อความเชื่อของอารยธรรมอื่น ๆ และประติมากรรมส่วนใหญ่เป็นแบบนูนต่ำ
บอกเรื่องราวการใช้ชีวิตของกษัตริย์ ตลอดจนการสลักให้ยาวต่อเนื่องกันโดยการใช้แผ่นหินต่อกันและไม่มีการระบายสี และจุดเด่นของกลุ่มนี้คือ มีความเชี่ยวชาญในการรบ และเป็นกลุ่มแรกที่ใช้อาวุธที่ทำมาจากเหล็ก และใช้รถเทียมม้าในการทำสงคราม
6. อาณาจักรนีโอ-บาบิโลเนีย (Neo-Babylonian)
ชาวเมเดสและชาวเมืองบาบิโลนได้รับชัยชนะสงครามอีกครั้งหลังจากที่ชาวอัสซีเรียแพ้สงคราม ทำให้การปกครองจึงได้เปลี่ยนมาเป็นอำนาจมาเป็นของกษัตริย์ พระเจ้า เนบูคัดเนสซาร์ ของนีโอ-บาบิโลน อารยธรรมเมโสโปเตเมียจึงได้เริ่มใหม่ในยุคของ นีโอ-บาบิโลนหรืออาณาจักรคาลเดีย ซึ่งในยุคกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์นั้นเป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด และทรงมีความเก่งและเชี่ยวชาญด้านการรบทำให้รบชนะเยรูซาเล็มของชาวยิวได้ โดยได้ทำลายเมืองและวิหารของชาวยิว และเกณฑ์ชาวยิวมาเป็นแรงงานที่เมืองบาบิโลน และที่น่าจดจำมากที่สุดของยุคนี้ก็คือ กษัตริย์ได้ทรงสร้างสวนลอยแห่งเมืองบาบิโลน ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ซึ่งสวยลอยแห่งเมืองบาบิโลนนี้ได้สร้างมาจากอิฐและดิน ในการสร้างครั้งนี้เพื่อเป็นของขวัญให้กับราชินี อามิตัส ซึ่งเป็นชาวเปอร์เซีย ซึ่งสวนลอยแห่งนี้ได้ตกแต่งสวนด้วยการดึงน้ำจากแม่น้ำยูเฟรติสมาใช้ในการปลูกไม้นานาพันธุ์บนสวนลอยแห่งนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของระบบการดึงน้ำมาใช้ได้เป็นอย่างดี และอาณาจักรนีโอ-บาบิโลเนีย หรือ คาลเดีย เป็นชนชาติกลุ่มสุดท้ายที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ก่อนที่จะถูกยึดครองโดยพระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus, the Great) ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย แหล่งกำเนิดอารยธรรมอันเก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งได้มีการพัฒนาอารยธรรมต่าง ๆ มาอย่างยาวนานผ่านผู้นำกษัตริย์ของแต่ละยุคสมัยซึ่งก็มีความเชี่ยวชาญและพัฒนาอารยธรรมผ่านจุดเด่นที่แตกต่างกันของผู้นำแต่ละท่าน ซึ่งเราก็จะเห็นถึงการพัฒนาและการเจริญรุ่งเรืองผ่านหลักฐานที่ปรากฎบนศิลาจารึก ซึ่งก็เรียกได้ว่ามีความน่าทึ่งอยู่ไม่น้อยกับโครงสร้างและประติมากรรมในแต่ละอย่างไม่ว่าจะเป็นซิกกูรัต และพระราชวังที่สร้างมาได้อย่างยิ่งใหญ่ แม้กระทั่งสวนลอยที่เป็นมหัศจรรย์โบราณของโลก ที่ต่างสร้างมาได้อย่างน่าทึ่งและมหัศจรรย์มากในยุคสมัยนั้น
อ่านบทความ ความลับอารยธรรมจีน และสมัยราชวงศ์ต่างๆใน ประวัติศาสตร์จีน
เครดิตรูป www.pexels.com