ประวัติ สุนทร ภู่ กวีเอกโด่งดังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ประวัติ สุนทร ภู่ กวีเอกโด่งดังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 1

สุนทร ภู่ ชื่อนี้คงไม่มีใครในประเทศไทยที่ไม่รู้จักอย่างแน่นอน ยิ่งในด้านของภาษาไทยด้วยแล้ว เขานับว่าเป็นบุคคลที่สำคัญมาก ๆ บุคคลหนึ่งเลยก็ว่าได้ และเมื่อถึงวันภาษาไทยทีไร ชื่อและ ประวัติ สุนทร ภู่ ของหนึ่งเรื่องที่ขาดไปไม่ได้ เหมือนวันคริสต์มาสที่ขาดซานตาครอสไปไม่เดียวเลย เช่นเดียวกัน โดยท่าน สุนทร ภู่ คนนี้ได้รับการยกย่องจากให้เป็นบุคคลดีเด่นระดับโลก เลยทีเดียว โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิดของสุนทร ภู่ และนี่นับเป็นสามัญชนคนแรกของประเทศไทย เลยที่ได้รับเกียรตินี้

ประวัติ สุนทร ภู่ กวีเอกโด่งดังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 2

ก่อนจะมาเป็น พระสุนทรโวหาร

ประวัติ สุนทร ภู่ (นามเดิม ภู่) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “สุนทรภู่” นี้ เขาเกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2329 ณ สถานที่บริเวณด้านเหนือของ “พระราชวังหลัง” หรือในระแวกบริเวณของสถานีรถไฟ บางกอกน้อยในปัจจุบันนี้ โดยตอนนั้นก็ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีบิดาของสุนทรภู่เป็นคนธรรมดา เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ส่วนของมารดาเป็นชาวเมืองจากที่อื่น ในวัยเด็ก สุนทรภู่ นั้นอาศัยอยู่ในพระราชวังหลังกับทางมารดา และมีโอกาสได้รับการศึกษาเล่าเรียนวิชาการต่าง ๆ ในสำนักพระภิกษุที่มีชื่อเสียงของเมืองอย่าง สำนักชีปะขาว ที่ในปัจจุบันคือวัดศรีสุดาราม และได้ เข้ารับราชการมาเป็นอาลักษณ์ราชสำนัก หรือเรียกให้เข้าใจว่า ผู้ทำหน้าที่ทางหนังสือในราชสำนัก ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี

สุนทรภู่” นั้นไม่ใช่ชื่อจริงของเขา แต่เป็นนามแฝงที่เกิดขึ้นจากการนำคำว่า “สุนทร” ในชื่อของ บรรดาศักดิ์ “ขุนสุนทรโวหาร” ที่ซึ่งได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นำมารวมกับชื่อจริงว่า “ภู่” นั่นเอง

ประวัติ สุนทร ภู่ กวีเอกโด่งดังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 3

ประวัติ สุนทร ภู่ นั้นบอกไว้ว่า เขาได้รับราชการถึงในสมัยรัชกาลที่ 3 แล้วได้ออกบวชและจำพรรษา ที่วัดเทพธิดาราม โดยมีกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3 ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ ในเวลาต่อมาเมื่อลาสิกขาบทแล้วก็ได้รับพระอุปถัมภ์จาก “เจ้าฟ้าน้อย” หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ซึ่งในเวลาต่อมาก็คือ “พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว” ในสมัยรัชกาลที่ 4 สุนทรภู่นั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระสุนทรโวหาร” และได้สิ้นชีวิตลง เมื่อปี พ.ศ. 2398 โดยมีอายุ 69 ปี ผู้คนต่างยกย่องเขาว่าเป็น “กวีสี่แผ่นดิน”

ประวัติ สุนทร ภู่ กวีเอกโด่งดังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 4

ด้านผลงานของ สุนทรภู่

ในช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่นั้น สุนทรภู่ มีใจรักรักด้านกาพย์กลอนและเป็นกวีและมีความชำนาญทางด้าน การประพันธ์เป็นอย่างมาก โดยนั่นอาจเป็นผลที่มาจากประสบการณ์ในวัยเด็กของเขา ที่มีโอกาส ได้ใช้เวลาซึมซับความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมและทางด้านของศิลปะการแสดงต่าง ๆ ในพระราชวังหลัง มานั่นเอง โดย สุนทรภู่ นั้นหมั่นเพิ่มพูนประสบการณ์ในการประพันธ์ของตัวเองด้วยการรับจ้างแต่ง เพลงและด้านบทกลอนมากมายที่แสดงออกอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีคารมที่คมคาย สุนทรภู่ จึงเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อย ๆ ในวงกวี จนเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงอย่างมาก เมื่อแรกเริ่มนั้น ที่ สุนทรภู่ได้รับรับราชการเป็นอาลักษณ์ปลายแถวอยู่ และมีหน้าที่เฝ้าเวลาทรงพระอักษรเพื่อคอยรับใช้ แต่แล้วก็มีเหตุให้ได้แสดงฝีมือกลอนของตัวเองในวันหนึ่ง  เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยทรงทำการแต่งกลอนของบทละครในเรื่อง “รามเกียรติ์” นั้นเกิดติดขัดไม่มีผู้ใดที่ช่วย ต่อกลอนได้ตรงต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ ได้ทดลองแต่งดู และปรากฏว่าแต่งได้ดี เป็นที่พอพระทัยอย่างมาก จึงทรงพระกรุณาฯ ได้เลื่อนตำแหน่งให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร การต่อกลอนของสุนทรภู่ในครั้งนั้น คราวนี้ก็ได้เป็นที่รู้จักทั่วไป ดังเนื่องจากที่ปรากฏรายละเอียดอยู่ในพระนิพนธ์นั้น ประวัติ สุนทร ภู่ ชีวิตและผลงานของสุนทรภู่ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับบทกลอนในรามเกียรติ์ที่สุนทรภู่ได้มีการแต่ง ในคราวนั้นก็คือ ตอนนางสีดาผูกคอตายและตอนช่วงของการศึกสิบขุนสิบรถ ฉากบรรยายรถทำศึกของทศกัณฐ์ หลังจากที่สุนทรภู่ได้เลื่อนยศเป็น หลวงสุนทรโวหาร แล้วในเวลาต่อมา ก็ได้รับพระราชทาน บ้านหลวงตั้งอยู่ที่ท่าช้าง ใกล้กับส่วนของวังท่าพระ และมีตำแหน่งในการเข้าเฝ้าเป็นประจำ โดยคอยถวายความเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับพระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์ของวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ รวมถึงได้มีส่วนร่วมในกิจการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมในช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย โดยเป็นหนึ่งบุคคลในคณะร่วมแต่ง เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ขึ้นมาใหม่ หลังจากที่ สุนทรภู่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็น “พระสุนทรโวหาร” เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งหน้าที่นี้เป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนที่เขาจะสิ้นชีวิตลง

และนี่ก็เป็นประวัติ สุนทร ภู่ บุคคลสำคัญของวงการภาษาไทย อันซึ่งเป็นกวีเอกที่โด่งดังของ กรุงรัตนโกสินทร์ ที่นับเป็นบุคคลที่น่ายกย่องไว้และไม่ควรลืมหายไปจากประวัติศาสตร์ไทยจริง ๆ 

แหล่งที่มา  : “สุนทรภู่”-กวีเอกกรุงรัตนโกสินทร์-สามัญชนไทยคนแรกที่ยูเนสโกยกย่อง, 1390753

อ่านต่อที่ ศิลปวัฒนธรรม

Credit : สถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศ, สถานที่ท่องเที่ยวในไทย, ของเล่น, ของใช้ผู้ชาย, แต่งงาน

เว็บตรงสล็อต

ufabet เว็บหลัก

สล็อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์แตกง่าย 2022

Recent post

Tags
6 ตุลา (1) 14 ตุลา (1) Nirvana (1) กรุงธนบุรี (1) ควีนอลิซาเบธ ที่ 2 (1) คานธี (1) คุกเขมรแดง (1) งานเทศกาลญี่ปุ่น (1) จักวรรดิโรมัน (1) จิตร ภูมิศักดิ์ (1) ดนตรี (2) บิสมาร์ค (1) บุคคลสำคัญ (13) ปประวัติศาสตร์ไทย (1) ประวัติกรุงธนบุรี (1) ประวัติ พ่อขุนรามคำแหง (1) ประวัติ พ่อขุนรามคำแหง มหาราชผู้สร้าง ศิลาจารึก (1) ประวัติรัตนโกสินทร์ (1) ประวัติศาสตร์จีน (2) ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น (2) ประวัติศาสตร์สุโขทัย (1) ประวัติศาสตร์อยุธยา (1) ประวัติศาสตร์เชียงใหม่ (1) ประวัติศาสตร์โลก (17) ประวัติศาสตร์ไทย (17) พฤษภาทมิฬ (1) พ่อขุนรามคำแหง (1) ร.ศ. 112 (1) รัตนโกสินทร์ (2) รัตนโกสินทร์ศก (1) ศิลปวัฒนธรรม (10) สงคราม (5) สงครามเย็น (2) สงครามโลกครั้งที่ 1 (1) สงครามโลกครั้งที่ 2 (1) สรุป อารยธรรมกรีก ฉบับเข้าใจง่าย (1) อารยธรรมกรีก (1) อารยธรรมจีน (1) อารยธรรมอินเดีย (1) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (1) ฮิเดะ (1) เทศกาลญี่ปุ่น (1) เปิดประวัติ อดอล์ฟฮิตเลอร์ จุดกำเนิด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (1) เหตุการณ์สำคัญ (12) โฮจิมินห์ (1)

เว็บไซต์น่าสนใจ

ร้านอาหารอร่อย
kinkubsher

แฟชั่นผู้ชาย
maleextratoday

แบบบ้าน
baan-design

แต่งงาน
weddingdistrictfrance

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
liqinfo