อาณาจักรล้านนา อีกหนึ่งผืนแผ่นดินแดนไทยในประวัติศาสตร์ ที่กินพื้นที่ภาคเหนือตอนบนทั้งหมด ของประเทศไทยเราในปัจจุบัน นับเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงามไปด้วยวัฒนธรรมที่ โดดเด่นเป็นอักลักษณ์มากมาย ทั้งด้านภาษา เครื่องใช้หรือวัตถุต่าง ๆ ล้วนมีความสวยงามเฉพาะตัว ที่ควรค่าแก่การอนุรักาณ์อย่างยิ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาจากการเป็นอณาจักรล้านนา ในสมัยก่อนนี่เอง
แล้วดินแดนแห่งความสวยงามนี้ มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เรามาศึกษาเพิ่มเติมกัน
ที่มาของ อาณาจักรล้านนา
คำว่า ล้านนา นั้นหมายถึงดินแดนที่มีนาอยู่นับล้านคือมีท่ีนาจานวนมากเป็นคำคู่กับล้านช้าง คือ ดินแดนท่ีมีช้างอยู่นับล้านตัว (สรัสวดี อ๋องสกุล, 2539) โดยอาณาจักรล้านนามีความสาคัญทาง ประวัติศาสตร์ ที่ประกอบด้วยเมืองสาคัญต่าง ๆ กระจัดกระจายตามเขตท่ีราบลุ่มแม่น้ำ สายสำคัญต่าง ๆ จึงทำให้ประกอบด้วยยกลุ่มคนหลายเชื้อชาติ อย่างเช่น ลั๊วะ ลื้อ ยอง มอญ ม่าน หรือ พม่า เงี้ยวหรือชาวไทยใหญ่ และเขิน หรือขึนครงหรือคงยางหรือกะเหรี่ยงท้องถิ่นหรือขมุเป็นต้น คาดว่า “ล้านนา” นั้นปรากฏข้ึนในสมัยพญากือนา(ช่วง พ.ศ. 1898-1928) เนื่องจากความหมายของพระนาม “กือนา” นั้นหมายถึงร้อยล้านนา(กือหมายถึงร้อยล้าน) ต่อมาคาว่าล้านนาใช้เรียกกษัตริย์ ผู้ปกครองดินแดนล้านนา โดยใช้ “ท้าวล้านนา” หรือ “ท้าวพญาล้านนา” และเรียกประชาชนของรัฐว่า “ชาวล้านนา” โดยลักษณะดังกล่าวใช้กันแพร่หลายในช่วงสมัย พระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.1984-2030) และนอกจากนี้ยังมีธรรมเนียม การใช้คำ “ล้านนา” หน้าชื่อเมือง ซึ่งพบหลักฐานในสมัย พญาสามประหาญฝั่งแกน (พ.ศ. 1945- 1984) เช่น ล้านนาเชียงแสน, ล้านนาเชียงใหม่ โดยเพื่อเน้น ว่า เมืองนี้อยู่ในอาณาจักรล้านนา นั่นเอง
อาณาจักรล้านนา ในช่วงสมัยรัฐอาณาจักร (ราชวงศ์มังราย พ.ศ. 1804 – 2101)
อาณาจักรล้านนา ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 นั้นดินแดนล้านนาได้พัฒนาการพื้นที่จากแว่นแคว้น นครรัฐมาสู่การเป็นรัฐแบบอาณาจักร มีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง รัฐปกครองแบบอาณาจักรสถาปนาอำนาจ โดยได้รวบรวมแว่นแคว้น นครรัฐเข้ามาไว้ด้วยกัน อาณาจักรล้านนา นั้นได้เริ่มก่อรูปโดยการรวมระหว่างแคว้นโยนและแคว้นหริภุญชัย หลังจากนั้นก็ได้ขยายอาณาจักรไปสู่ยังดินแดนใกล้เคียง ได้แก่ เมืองเชียงตุง เมืองนายในเขตรัฐฉาน และยังขยายสู่เมืองเขลางคนคร และเมืองพะเยา ในเวลาถัดมา ในยุคที่อาณาจักรล้านนา มีความเจริญรุ่งเรืองนั้นสามารถขยายอำนาจไปสู่เมืองแพร่และ เมืองน่านตลอดจนไปถึงรัฐฉานและ สิบสองพันนา เลยทีเดียว
และในพุทธศตวรรษที่ 19 นั้นได้เกิดปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ เป็นที่สำคัญของภูมิภาคนี้ คือการสลายตัวของรัฐโบราณที่เคยได้รุ่งเรืองมาก่อน ดังเช่น กัมพูชา ทวารวดี เมืองหริภุญชัย และพุกาม ซึ่งการเสื่อมสลายของรัฐโบราณเหล่านี้ เปิดโอกาสให้เกิดการ สถาปนาอาณาจักรใหม่ของชนชาติ ไทยที่ผู้นำ ได้ใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทย อาณาจักรใหม่ที่ว่านี้ เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 ที่สำคัญคือ ล้านนา สุโขทัย และอยุธยา ตามลำดับ โดยที่อาณาจักรทั้งสามนี้มีความเชื่อในเรื่องพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนิกายลังกาวงศ์ เช่นเดียวกัน และความเชื่อดังกล่าวนี้ได้สร้างความสัมพันธ์ต่อกัน และขณะเดียวกันก็ได้ส่งเสริมการแข่งสร้างบุญ บารมีของกษัตริย์ จึงได้นำไปสู่การทำสงครามกันระหว่างอาณาจักร ล้านนากับรัฐอื่นขึ้น รัฐสุโขทัยได้สลายลงก่อน โดยถูกผนวกกับอยุธยา และหลังจากนั้นสงครามระหว่างอยุธยาและล้านนาดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง สงครามครั้งสำคัญนั้นจะอยู่ในสมัยของพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ
วัฒธรรมล้านนาใน อาณาจักร ล้านนา มีที่มาอย่างไร
อาณาจักร ล้านนา ที่มีการทำสงครามกับอยุธยาแล้ว ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับพม่า ซึ่งเป็นชนชาติ ที่ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากอยู่ในล้านนาเกือบทุกยุคสมัย โดยเมื่อพญามังรายได้ยกทัพไปตี เมืองหวสาวดีของทางพม่า พระเจ้าหงสาวดีก็ได้ถวายไมตรียกธิดาให้ และเมื่อพญามังรายได้ ทรงยกทัพไปดูเชิงพระเจ้าอังวะยังที่เมืองพุกามนั้น พระเจ้าอังวะที่เป็นชาวไทใหญ่ก็ได้จัดช่างฝีมือดี
ต่าง ๆ 500 ครอบครัวให้ติดตามพญามังรายพามาอยู่ในล้านนา พญามังรายจัดให้ช่างทองได้ไปอยู่ ที่เมืองเชียงรุ้ง ซึ่งเป็นดินแดนของพระองค์เองในสมัยนั้น ให้ช่างฆ้องอยู่ที่เมืองเชียงแสน ช่างเหล็ก ช่างหล่อและช่างอื่น ๆ ได้จัดให้อยู่ที่เวียงกุมกาม
หลังจากเหตุการร์นั้น นับจากพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว เมืองเชียงใหม่ก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นมา จนเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร ล้านนา และในสมัยพระเจ้ากือนา กษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งราชวงศ์ มังรายก็ได้รับเอาพระเถระมาจากเมืองสุโขทัยเข้ามาสืบสานพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์
ในอณาจักรล้านนา ทำให้ศิลปกรรมสุโขทัยซึ่งพัฒนาการรูปแบบของตนมาแล้วจากพม่าเมืองพุกาม ก็เข้ามามีการเติบโตในล้านนา กระทั่งในสมัยของพระเจ้าติโลกราช ที่เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 9 ก็ยังได้ติดต่อกับทางแว่นแคว้นต่าง ๆ อีกมากมาย มีการส่งคนของเมืองไปศึกษาสถาปัตยกรรม และดูตัวอย่างงานที่พุกามและเมืองลังกา แล้วนำกลับมาใช้สร้างความรุ่งโรจน์ในอณาจักรล้านนา โดยในสมัยนี้ยังได้ทำการสังคายนาพระไตรปิฏกขึ้นด้วย ที่วัดมหาโพธาราม หรือ วัดเจ็ดยอด ซึ่งนับเป็นการสังคายนาพระไตรปิฏกเป็นครั้งที่ 8 ของโลกและเป็นครั้งแรกเลยในดินแดนพุทธศาสนา ที่สุวรรณภูมิแห่งนี้เอง
และนี่ก็เป็นเรื่องราวที่มีการค้นพบและสันนิฐานอ้างอิงจากหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องราว ความเป็นมาของ อาณาจักร ล้านนา ดินแดนไทยในประวัติศาสตร์ ดินแดนที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง ทางภาคเหนือของประเทศไทยเราในปัจจุบันนี้เอง หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านและมอบความรู้ ความนุกในการอ่านของคุณได้ไม่มากก็น้อย ทั้งนี้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ อาณาจักรล้านนา ยังมีให้ได้ ศึกษาอีกมากมาย ไว้เราจะมาบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้ต่อกันในวันข้างหน้านะครับ
แหล่งที่มา : อณาจักรล้านนา, เรื่องราวของอณาจักรล้านนา
อ่านต่อที่ ประวัติศาสตร์โลก
Credit : แฟชั่นผู้ชาย, ของสะสม, แคปชั่น, วิ่ง, สมุนไพร