หลังจากที่ยุคสมัยของสุโขทัยได้เสื่อมลงนั้น ยุคที่เจริญรุ่งเรื่องขึ้นมาเป็นศูนย์กลางของชาวไทยต่อมา คือ อาณาจักร อยุธยา โดยอาณาจักร อยุธยา นี้ถือว่ามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากและมีบทบาทที่ สำคัญมากมายต่อหน้าประวัติศาสตร์เลยทีเดียว และอีกหนึ่งเรื่องที่น่ายกเป็นกรณีศึกษาของ อาณาจักร อยุธยา นี้ก็คือ การเมือง การปกครองของสมัยนั้นนั่นเอง ซึ่งในช่วงยุคที่เจริญรุ่งเรื่องของ อาณาจักร อยุธยา นั้นมีการปกครองแบบใด ลักษณะไหนบ้างนั้น บทความนี้มีคำตอบให้คุณแล้ว
ช่วงสมัยของ อาณาจักร อยุธยา
ในช่วงที่ อาณาจักร อยุธยา นั้นเริ่มมีการพัฒนาและเจริญรุ่งเรื่องนั้น การดูแลบ้านเมืองเป็นไปด้วย ระบอบการปกครองในแบบของสมัยอยุธยาที่เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งจะปกครองด้วย อำนาจอธิปไตยแบบขึ้นอยู่ที่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว เหมือนกับช่วงสมัยของยุคสุโขทัย แต่แนวความคิดเกี่ยวตัวของพระมหากษัตริย์นั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งเวลานั้นแนวคิดนี้มาจากพวกขอมนำเข้ามา โดยในความเชื่อของชาวขอมนั้นจะถือว่า พระมหากษัตริย์นั้นทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจจากสวรรค์เพื่อมาปกครอง ตามแนวความคิดของ ลัทธิเทวสิทธิ์
โดยถ้ายึดตามความเชื่อในลักษณะการปกครองแบบเทวสิทธิ์นี้ ก็จะถือว่า พระมหากษัตริย์นั้น เป็นเสมือนเจ้าชีวิต นอกจากที่จะมีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดด้วยตัวพระองค์เองแล้ว สามารถที่จะ กำหนดชะตาชีวิตของผู้คนอยู่ใต้ปกครองแล้ว ยังถือว่าอำนาจที่มีในการปกครองนั้นพระมหากษัตริย์ ทรงได้รับมาจากสวรรค์ หรือเป็นไปตามเทวโองการ ซึ่งทุกการกระทำของพระมหากษัตริย์นั้น ถือเป็นความต้องการของพระเจ้า พระมหากษัตริย์นั้นทรงเป็นเหมือนสมมุติเทพ หรือพระเจ้า หรือผู้แทนของพระเจ้าเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นแล้ว พระมหากษัตริย์ในแบบตามแนวความคิด ที่มาจากแบบเทวสิทธิ์จึงทรงอำนาจสูงสุดเป็นล้นพ้น ลักษณะการปกครองจึงเป็นแบบ นายปกครองบ่าว หรือเจ้าปกครองข้า นั่นเอง
ทั้งนี้ สำหรับเรื่องการปกครองของ อาณาจักร อยุธยา นั้น เนื่องจากสมัยอยุธยามีระยะที่เวลายาวนาน และยังมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการปกครองบ้างไม่ได้ใช้รูปแบบเดียวมาตลอดยุคสมัย จึงเห็นสมควรแบ่งการศึกษารูปแบบออกเป็น 2 สมัย คือ สมัยอยุธยาตอนต้น ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 1893 – 1991 และในยุคสมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย ที่เริ่มแต่สมัยพระบรมไตร โลกนาถ ปี พ.ศ. 1991 จนกระทั่งเสียกรุงไป เมื่อปี พ.ศ. 2310
โดยความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎร มีลักษณะปกครองแบบเจ้ากับข้านี้ มีการจัดระเบียบการปกครองราชธานี เป็นแบบจตุสดมภ์ ซึ่งเป็นลักษณะผสมกันระหว่างการปกครอง แบบไทยที่ได้อิทธิพลมาจากยุคสุโขทัยและรูปแบบที่รับมาจากเขมร ส่วนที่รับมาจากเขมร คือ การที่พระมหากษัตริย์นั้นจะมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่เหล่าเสนาบดีทั้ง 4 ตำแหน่ง ซึ่งเรียกหน้าที่เหล่านี้ว่า จตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา
1.เวียง เป็นผู้มีหน้าที่ในการรับผิดชอบการปกครองท้องที่ รักษาความสงบเรียบร้อย ของอาณาจักร
2. วัง มีหน้าที่ในการรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการที่เป็นงานราชการในพระราชสำนัก
3. คลัง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องจัดการภาษีอากร ต่าง ๆ และดูแล รักษาพระราชทรัพย์ที่เป็นรายได้ในการนำเข้าสู่พระคลังและการใช้จ่ายเงินในราชการ
4. นา มีหน้าที่รับผิดชอบส่วนของการดูแลรักษานาหลวง การเก็บภาษีนาจากราษฎรและจัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนครและส่วนของพระราชวัง
ในส่วนของการจัดระเบียบการปกครอง อาณาจักร อยุธยา ที่ได้นำรูปแบบในสมัยสุโขทัยมาใช้นั้นจะแบ่งประเภทการปกครองออก โดยให้ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นศูนย์กลางการปกครอง เมืองอื่น ๆ ก็แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย
1. หัวเมืองชั้นใน มีการประกอบด้วยเมืองหน้าด่านชั้นในสำหรับป้องกันในราชธานีทั้ง 4 ทิศ คือ ลพบุรี นครนายก พระประแดง และสุพรรณบุรี รวมทั้งหัวเมืองชั้นในที่จะเรียงรายตามระยะทางของการคมนาคม สามารถติต่อกับเมืองราชธานีได้ภายใน 2 วัน เช่น ปราจีนบุรี ชลบุรี เพชรบุรี นครพนม สิงห์บุรี ราชบุรี เป็นต้น
2. หัวเมืองชั้นนอก หรือส่วนของเมืองพระยามหานคร ที่ได้แก่ เมืองต่าง ๆ ที่ซึ่งอยู่นอกเขตหัวเมืองชั้นในออกไปตามทิศต่าง ๆ อันได้แก่ ถลาง ตะนาวศรี ทวาย โคราช จันทบุรี ไชยา นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และเชียงกราน เมืองเหล่านี้เองสำหรับบางเมืองในสมัยสุโขทัย จัดว่าเป็นเมืองที่เป็นประเทศราชแต่ในสมัยอยุธยานั้นได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นหัวเมืองชั้นนอก
3. เมืองประเทศราช อันได้แก่ เมืองมะละกา ยะโฮร์ ทางแหลมมลายู และพื้นที่ส่วน ของกัมพูชาด้านตะวันออก การปกครองในสมัยอาณาจักร อยุธยา นี้ นอกจากจะจัดการปกครอง ในแบบส่วนภูมิภาคเป็นหัวเมืองต่าง ๆ แล้ว ยังมีการจัดระเบียบของการปกครองในท้องที่ในหัวเมือง ชั้นในอีก โดยจะแบ่งการจัดแบ่งออกเป็นแขวง แขวงแบ่งออกเป็นตำบล และตำบลก็แบ่งออก เป็นหมู่บ้าน โดยที่จะมีผู้ปกครองตามระดับ ดังนี้ หมื่นแขวง กำนันซึ่งมักได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพัน และผู้ใหญ่บ้าน หรือ พ่อหลวง เรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่
และนี่ก็เป็นเรื่องราวของ อาณาจักร อยุธยา ที่มีการปกครองและลักษณะการปกครองที่ได้รับอิทธิผล จากหลายที่มาปรับใช้ผสมผสานกันออกมาอย่างเป็นระบบแบบแผน และบางรูปแบบการปกรองยังสืบ เนื่องมาจนถึงปัจจุบันอีกด้วย นับว่าเป็นกรณีศึกษาที่ดีเรื่องหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยเลยทีเดียว
แหล่งที่มา : อาณาจักรอยุธยา, 34.htm
อ่านต่อที่ ประวัติศาสตร์โลก
Credit : สถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศ, สถานที่ท่องเที่ยวในไทย, ของเล่น, ของใช้ผู้ชาย, แต่งงาน