
หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อของกลุ่ม เขมรแดง ซึ่งเป็นกลุ่มคนฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดำเนินการอย่างโหดเหี้ยมต่อคนกัมพูชา แม้ในเวลาต่อมาจะถูกศาลตัดสินว่ามีความผิด แต่บทเรียนนี้ก็สามารถสอนให้เราได้รู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของระบบการปกครองของโลกได้เป็นอย่างดี ลองมาศึกษาถึงรายละเอียดของข้อมูลนี้กันดีกว่าค่ะ
จุดเริ่มต้นของ เขมรแดง
หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองกัมพูชาในฐานะประเทศอาณานิคม ซึ่งในช่วงเวลานั้น กัมพูชาได้มีการส่งคนไปเรียนที่ฝรั่งเศสไม่น้อย และหนึ่งในนั้นก็คือ นายพล พต ซึ่งเป็นชาวเขมรเชื้อสายจีน และเป็นจุดเริ่มต้นของการเรืองอำนาจของเขมรแดง
นายพล พต มีโอกาสได้ศึกษาต่อในด้านของวิศวกรรมที่ฝรั่งเศส และเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาเรียนรู้ทฤษฎีสังคมศาสตร์ที่อยากจะกลับมาเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของประเทศตัวเอง นอกจากนี้ นายพล พต ยังมีโอกาสเดินทางไปที่ประเทศจีน และไปเรียนรู้ทฤษฎีคอมมิวนิสต์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้เขากลายเป็นผู้นำของเขมรแดงในยุคถัดไป

ยุคเรืองอำนาจของ เขมรแดง
ในปี 1975 กลุ่มเขมรแดง สามารถล้มล้างผู้ปกครองเดิมได้ โดยมีนาย พล พต เป็นผู้นำ เขมรแดงต้องการที่จะเปลี่ยนประเทศให้กลายเป็น ‘สาธารณรัฐเกษตรกรรมสังคมนิยม’ โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้ความช่วยเหลือ และเชื่อว่าความช่วยเหลือในทุกด้านกว่า 90% ก็มาจากจีน ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้กลุ่มเขมรแดงยังคงอยู่ได้เป็นเวลานาน
ทันทีที่เขมรแดงได้ขึ้นปกครองประเทศ เขมรแดงได้ทำให้เมืองว่างเปล่า และบังคับให้ชาวกัมพูชาย้ายไปตั้งค่ายแรงงานในชนบท เขาบังคับให้คนนับล้านเดินทางออกจากเมืองพนมเปญ โดยอ้างว่าพวกอเมริกาจะมาทิ้งระเบิดใส่ ซึ่งหลังจากกวาดต้อนผู้คนมาได้ ก็นำแรงงานคนไปทำงานในชนบท

เขมรแดงบังคับให้ชาวเขมรและกลุ่มชาติพันธุ์กว่า 1.7 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 20% ของคนทั้งหมดต้องถูกใช้แรงงาน ใช้ชีวิตด้วยความอดอยากและเป็นโรค และหลายคนก็ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม ซึ่งความผิดที่เขมรแดงได้ทำต่อกลุ่มชาติพันธุ์เวียดนาม มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
- การใช้แรงงานทาสเพื่อนำคนไปสร้างเขื่อนและสร้างกำแพงกั้นน้ำ
- การทรมานคนด้วยการใช้ถุงพลาสติกครอบหัวทำให้ขาดอากาศหายใจ
- การทรมานด้วยการตอกนิ้วมือและนิ้วเท้า
- การบังคับให้ชาวมุสลิมกินหมู
- การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
เนื่องจากชาวเขมรจำเป็นต้องควบคุมค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการประหยัดกระสุน อาวุธที่ใช้ในการสังหารผู้คนจึงไม่ใช่ปืน แต่มักจะเป็นของมีคมใกล้ตัว เช่น ไม้ไผ่แหลม, จอบ, เสียม, เคียวเกี่ยวข้าว เป็นต้น
การใช้แรงงาน การทำร้ายร่างกาย การทำให้อดยากหิวโหย หรือการประหารชีวิต ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างยิ่ง ชาวเขมรจำนวนมากเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ และยังมีการพยายามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งทำให้เขมรหลายคนต้องพยายามหนีตาย และแอบหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเวียดนามและไทยก็ตาม

จุดจบของเขมรแดง
จุดจบของเขมรแดงสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1979 เกิดขึ้นเมื่อทหารเวียดนามพยายามใช้กำลังพลแทรกแซงเข้าไป และสามารถขับไล่เขมรแดงออกไปได้ ทำให้ผู้นำเขมรแดงต้องหนีไปหลบหนีตามชนบทหรือพื้นที่กันดาร ประกอบกับการเสียชีวิตของนายพล พต ผู้นำเขมรแดง ซึ่งส่งผลให้เกิดการล่มสลายในที่สุด
การพิจารณาคดีครั้งแรกเกิดขึ้นหลังผ่านไปกว่า 40 ปี โดยการพิจารณาคดีเป็นการตั้งขึ้นตามความตกลงของรัฐบาลกัมพูชาและองค์การสหประชาชาติ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2018 ซึ่งศาลได้ให้คำตัดสินเป็นครั้งแรกว่า เขมรแดงผู้ก่ออาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวจามและชาวเขมรเชื้อสายเวียดนาม โดยมีผู้นำ 2 คนของกลุ่มเขมรแดง ได้แก่ นวน เจีย อายุ 92 ปี ผู้นำอันดับสองของเขมรแดง และ เขียว สัมพัน ที่มีอายุ 87 ปี ได้เข้าร่วมฟังการพิจารณาคดี
ความผิดทุกๆ อย่างทั้งการทารุณกรรมและสังหารอย่างโหดเหี้ยม ได้ถูกที่ชุมนุมชำระวิสามัญแห่งตุลาการกลุ่มกัมพูชา รวบรวมเอกสารหลายแสนชิ้น รวมถึงหลักฐานจากพยานหลายร้อยคน ซึ่งทำให้ผู้นำ 3 คนต้องได้รับโทษตามกฎหมาย
ความล่มสลายของเขมรแดง คือ จุดจบที่เหมาะสมแล้วกับการกระทำที่โหดเหี้ยมและรุนแรง และเชื่อว่าประวัติศาสตร์ครั้งนี้จะสอนให้มนุษย์ได้เรียนรู้ถึงความผิดชอบชั่วดี และเป็นบทเรียนราคาแพงที่จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่การพัฒนาในขั้นต่อไป
อ่านบทความ 14 ตุลา 2516 “การปฏิวัติเดือนตุลาคม”
อ้างอิง