เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักและคุ้นชินกันดี เกี่ยวกับเทศกาลกินเจ ที่จะมีการจัดขึ้นในทุก ๆ ปี โดยการร่วมเทศกาลนั้นก็คือการ งดทานเนื้อสัตว์ หรือ เนื้อ นม ไข่ ทุกชนิด แล้วทานแต่พืช ผัก หรือพวกธัญชพืชแทน ซึ่งถือเป็นการทำบุญหรือแสวงบุญรูปแบบหนึ่งของบุคคลที่มีความเชื่อ
ในด้านนี้ แต่จะมีกี่คนกันที่รู้เรื่องราวจริง ๆ ของการกินเจ หรือรู้ว่า เจคืออะไร หากคุณเองก้ยังสงสัย ในเรืองนี้ เทศกาลนี้อยู่ก็เชิญอ่านบทความนี้ต่อได้เลย
ระยะเวลา เทศกาลกินเจ
ในทุกๆ ปี นั้นรายละเอียดและช่วงเวลาที่จัดเทศกาล ประเพณีการกินเจ จะกำหนดเอาวันตามจันทรคติ ซึ่งก็คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนทุกๆ ปี รวม 9 วัน 9 คืน โดยเทศกาลกินเจ นี้มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีน
เทศกาลกินเจ ที่ได้ยินมาถูกต้องไหม?
ในบทความนี้เรามีอีกเรื่องเล่าหนึ่ง ถึงการกินเจในช่วงวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 ถึงขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 (ตามปฏิทินจันทรคติ) นั้น ตามวัตถุประสงค์เดิมแล้ว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการถือที่ต้องศีลตาม หลักคำสอนทางศาสนาแต่อย่างใด แต่เพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรบุรุษที่ลุกขึ้นมาโค่นล้มราชวงศ์ชิง และได้กอบกู้ราชวงศ์หมิงเอาไว้นั่นเอง เมี่อประมาณสองสามร้อยปีก่อนนั้น หลังจากที่ชาวแมนจู ได้ยึดครองราชวงศ์หมิง และได้ทำการสถาปนาราชวงศ์ชิงแล้วนั้น ชาวฮั่นซึ่งเป็นลูกหลานราชวงศ์หมิง ยังมีใจขบคิดก่อการกบฏเพื่อฟื้นฟูอำนาจการเมืองของราชวงศ์หมิงให้ได้กลับคืนมา แต่ก็ไม่สำเร็จนัก เพราะถูกทางการปราบปรามตามมาด้วยมาตรการเหี้ยมโหดเด็ดขาด จึงมีผู้ที่ต้องพลีชีพไปกับการ กบฏในครั้งนั้นจำนวนไม่น้อย การกินเจจึงเถือป็นการรำลึกถึงวีรบุรุษที่เสียสละเหล่านี้
เทศกาลกินเจ สำหรับการกินเจในประเทศไทย
สำหรับเทศกาลกินเจ ของประเทศไทยแล้ว เชื่อกันว่าเป็นธรรมเนียมของชาวจีนจากโพ้นทะเลที่ได้ อพยพเข้ามาตั้งรกรากฐิ่นฐานในไทย และได้พกพาความเชื่อเกี่ยวกับการเคาราพนับถือเทพเจ้า เจ้าแม่กวนอิมเข้ามาด้วย เนื่องจากเจ้าแม่กวนอิมนั้นเป็นดั่งเทพเจ้าแห่งความเมตตากรุณา การกินเจ ละเว้นการเอาชีวิตของสัตว์นั้น จึงถือเป็นการทำเพื่อสักการะบูชาทั้งพระพุทธเจ้า และเจ้าแม่กวนอิมไปด้วยกันในคราวเดียว
อีกหนึ่งความเชื่อของ เทศกาลกินเจ
เป็นความเชื่อจากทางด้านของชาวพุทธนิกายมหายาน ที่เชื่อว่าการถือศีลกินเจ การนุ่งขาวห่มขาว และงดเว้นจากการเบียดเบียนต่าง ๆ ทั้งปวงนั้น ถือเป็นการทำเพื่อถวายสักการะแด่พระพุทธเจ้า 7 พระองค์ และต่อพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมแล้วเป็น 9 พระองค์ หรือจะพูดอีกอีกนัยหนึ่งคือ ทำเพื่อเคารพต่อดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 อีกด้วย ซึ่งก้ได้กลายเป็นที่มาของชื่อเทศกาลกินเจ ในภาษาจีน ที่ว่า จิ่วหวงเย่ ซึ่งแปลว่า “เทพเจ้า 9 พระองค์” นั่นเอง
การกินเจในประเทศต้นกำเนิด
ในประเทศจีนนั้น ไม่ได้มีการกินเจ กันทั้งประเทศหรอกนะ ที่จีนมีการกินเจนั้นเป็นเรื่องที่มีเฉพาะถิ่น ไม่ได้ทำกันทั่วไปทั้งประเทศ ซึ่งคนจีนที่กินเจส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน และแต้จิ๋ว ที่อยู่ในมณฑลฟูเจี้ยน ซึ่งชาวจีนในละแวกนี้นั้นก็มักอพยพย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในแถบของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และภาคใต้ของประเทศไทย นี่เอง ซึ่งเค้าจะไม่เรียกว่าการกระทำนี้ว่า เทศกาลกินเจ แต่จะเรียกว่า เทศกาลเฉลิมฉลองของพระราชาธิราชทั้ง 9 (Nine Emperor Gods Festival) หรือภาษาจีนว่า 九皇大帝 โดยในประเทศจีนเองแม้จะพอมีให้เห็นอยู่บ้างแต่ก็นับว่าหายากมาก ๆ แล้ว เป็นประเพณี ในแบบลัทธิเต๋ารวม 9 วัน กำหนดเอาวันอ้างอิงตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามที่ปฏิทินจีนของทุก ๆ ปี
และนี่ก็เป็นเรื่องราว รวมถึงความเป็นมา ตำนานต่าง ๆ เกี่ยวกับเทศกาลกินเจ หรือเจคืออะไร เทศกาลกินเจ สำคัญอย่างไร ที่เชื่อว่าพอจะตอบข้อสงสัยของคุณผู้อ่านได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้หากคุณได้เห็นข้อมูลอื่นมา ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะวัฒนธรรมมีการไหลเวียนและ ปรับเปลี่ยนกันได้อยู่เรื่อยมา
แหล่งที่มา : vegetarian-festival.html
อ่านต่อที่ ประวัติศาสตร์ไทย