14 ตุลา 2516 “การปฏิวัติเดือนตุลาคม”


หนึ่งเหตุการณ์ที่รู้จักกันและเรียกว่า “14 ตุลา” นั้น นับเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยเลยก็ว่าได้ ในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2516 กลุ่มเยาวชนที่เป็นนักเรียนนิสิตนักศึกษา ได้ร่วมกับประชาชนจํานวนนับแสนได้เรียกร้องให้รัฐบาลคณาธิปไตยถนอม-ประภาส-ณรงค์ ปลดปล่อยนิสิต นักศึกษา อาจารย์ และนักการเมืองจำนวน 13 คนที่ได้ถูกจับกุมข้อหาเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่กลับถูกรัฐบาลตั้งข้อหาว่ากระทําการผิดกฎหมาย มั่วสุม ชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมืองในที่สาธารณะเกินกว่า 5 คน อาจเป็นเหตุบ่อนทําลายความมั่นคงของรัฐ เป็นกบฏภายในพระราชอาณาจักร และมีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์

ในระหว่างวันที่ 9-12 ตุลาคม นักเรียนนิสิต นักศึกษา และประชาชน ได้ชุมนุมประท้วงโดยสันติวิธี ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันเสาร์ที่ 13 มีประชามหาชนเดินขบวนสําแดงพลังครั้งยิ่งใหญ่ที่ดูราวกับกระแสคลื่นมนุษย์ท่วมท้นบนถนนราชดําเนิน และในวันที่ 14 ตุลา ก็เกิดความรุนแรงขึ้น เยาวชนได้ถูกปราบปรามด้วยอาวุธร้ายแรง อันเป็นผลให้เกิดการลุกฮือขึ้นมาทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด และแล้วเผด็จการก็ได้สิ้นลง เหล่าผู้นำคณาธิปไตย ถนอม-ประพาส-ณรงค์ ได้ทำการลี้ภัยไปยังต่างประเทศ



นับตั้งแต่นั้นเหตุการณ์ 14 ตุลา ก็ได้เป็นที่เล่าขานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการขนานนามเหตุการณ์นี้ต่าง ๆ นานา วันมหาวิปโยค วันมหาปิติ การปฏิวัติตุลาคม การปฏิวัติของนักศึกษา โดยอย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้นับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยเลยทีเดียว  

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ มหากวีรัตนโกสินทร์ กล่าวถึงเหตุการณ์ 14 ตุลา ว่า

และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ

เป็นความงดความงามใช่ความชั่ว

อันอาจขุ่นอาจข้นหม่นมัว

แต่ก็เริ่มจะเป็นตัวจะเป็นตน

พอเสียงร่ำรัวกลองประกาศกล้า

ก็รู้ว่าวันพระมาอีกหน

พอปืนเปรี้ยงแปลบไปในมณฑล

ก็รู้ว่าประชาชนจะชิงชัย

(เพียงความเคลื่อนไหว ประชาชาติ 5 ตุลาคม 2517)

เมื่อย้อนถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2516 อะไรคือชนวนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น และมีอะไรเกิดขึ้นบ้างในวันนั้น ? 

มีการสืบทอดอำนาจของระบอบเผด็จการ

ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ประเทศไทยเรายังคงตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการที่ได้สืบทอดอำนาจมาแล้วเป็นเวลา 16 ปี

โดยในปี พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม และดำรงอยู่ในอำนาจจนถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2506 และหลังจากนั้น จอมพลถนอม กิตติขจร ทายาททางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ก็ได้เข้ามาสืบทอดอำนาจ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อจอมพลถนอม ปฏิวัติตัวเอง

จอมพลถนอม กิตติขจร อยู่ที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาอย่างยาวนาน ได้การปฏิวัติตัวเอง ในปี พ.ศ. 2514 เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดความขัดแย้งภายในสภา และเพื่อสืบทอดอำนาจให้กับตัวเองกับพวกพ้องในครั้งต่อไป     

รวมถึงการต่ออายุราชการให้ตัวเองได้อยู่ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด จึงเป็นเหตุสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนชาวไมยเป็นอย่างมาก เพราะแสดงถึงความต้องการสืบทอดอำนาจอย่างชัดเจน ในแบบที่ไม่เห็นหัวประชาชนเลย

เหตุการณ์ทำตามใจตัวเอง นายตำรวจจชั้นผู้ใหญ่และคณะทหาร ใช้อาวุธสงครามออกล่าสัตว์ในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

ปลายเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2516 ทางนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่และคณะทหาร ประมาณ 60 คน ได้นำเอาอาวุธสงครามเข้าไปล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี

โดยต่อมาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้ออกหนังสือ “บันทึกลับจากทุ่งใหญ่” และคณะนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ออกหนังสือ “มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ” มาเปิดโปงกรณีดังกล่าว และทวงถามถึงความรับผิดชอบจากรัฐบาลชุดนั้น จนเป็นเหตุส่งผลให้นักศึกษาจำนวน 9 คน ถูกลบชื่อออกจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงไป

14 ตุลา

เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง จากกรณีนักศึกษาทั้ง 9 คน ถูกลบชื่อออกจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

จากกรณีที่นักศึกษาจำนวน 9 คน ได้ถูกลบชื่ออกจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงนั้น ก่อให้เกิดความพอใจในวงกว้าง จนนำไปสู่เหตุการณ์การชุมนุมประท้วงขึ้น ในระหว่างวันที่  21–27 มิถุนายน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จนทำให้ทางมหาวิทยาลัยต้องยอมคืนสถานภาพนักศึกษาให้แห่ทั้ง 9 คน และอธิการบดีมหาวิทยาลัยในเวลานั้น ก็ได้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เหตุการณ์จับกุม โดยตั้งข้อหาคอมมิวนิสต์ กลุ่มผู้แจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญ

ในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ระหว่างวันที่  21–27 มิถุนายน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อให้ทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงคืนสถานะให้กับนักศึกษาที่ถูกลบชื่อออกทั้ง 9 คนนั้น ได้มีข้อสรุปร่วมกันว่า ตราบใดที่ประเทศไทยเรานั้นยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ความไม่เป็นธรรมในสังคมก็ยังคงจะมีอยู่ จึงนำไปสู่การชุมนุมประท้วง เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา

โดยในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2516 กลุ่มบุคคลมากมายหลายอาชีพ ได้ร่วมกันแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่างๆ จนถูกเจ้าหน้าที่จับกุมจำนวน 13 คน (และอีก 2 คนถูกจับในภายหลัง) โดยทั้งหมดได้ถูกนำตัวไปคุมขัง และตั้งข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ขึ้น

จากเหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่พอใจขึ้นในหมู่นักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก จึงนำไปสู่การชุมนุมประท้วงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม ภายในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และรัฐบาลต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยเร็วอีกด้วย

14 ตุลา 2

เหตุการณ์กลุ่มผุ้ชุมนุมและนักศึกษา เดินขบวนเรียกร้องจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปตามถนนราชดำเนิน

ด้วยการชุมนุมภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์นั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ก็ได้มีนักศึกษาและประชาชน มาเข้าร่วมการชุมนุมจำนวนมากมายมหาศาล ล้นออกมาบริเวณรอบนอกของเขตมหาวิทยาลัย

และเมื่อรัฐบาลยังคงไม่มีคำตอบที่ชัดเจนต่อข้อเรียกร้องดังกล่าวนี้ ทางแกนนำนักศึกษาจึงประกาศจะเคลื่อนขบวนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปตามถนนราชดำเนิน โดยมีผู้ร่วมขบวนประท้วงอยู่ประมาณ 5 แสนคน ทำให้เกิดภาพคลื่นมนุษย์ขนาดใหญ่ เคลื่อนตัวไปบนถนน โดยมีนักเรียนอาชีวะหลายสถาบันมาทำหน้าที่เป็นการ์ดตามจุดต่าง ๆ เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุมในครั้งนี้ด้วย

เหตการณ์ปะทะกันขั้นรุนแรงบานปลาย ทำให้มีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต

ในช่วงหัวค่ำของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ได้ประกาศว่า รัฐบาลจะปล่อยผู้ต้องหา และจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในปี 2517 ตามข้อเสนอของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ

แต่ด้วยจำนวนผู้ชุมนุมนั้นมหาศาลกว่าครึ่งล้านคน ทำให้การประสานงานต่าง ๆ  ในเวลานั้นได้เป็นไปอย่างสับสน และมีการปล่อยข่าวลือต่าง ๆ  เพื่อดิสเครดิตกลุ่มผู้ชุมนุม จนเกิดการปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ ทำให้มีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง แกนนำการชุมนุมจึงได้ประกาศให้เหล่าผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปที่สวนจิตรลดา เพื่อหวังจะได้พึ่งพระบารมี

14 ตุลา 3

เมื่อสถานการณ์ได้บานปลายยิ่งขึ้น

ในเวลาหลังเที่ยงคืนของวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม (หรือในวันที่ 14 ตุลา) เหล่านักศึกษาและประชาชนได้รวมตัวกันที่บริเวณหน้าสวนจิตรลดาเป็นจำนวนมาก เมื่อผู้แทนพระองค์ได้อ่านพระบรมราโชวาท ผู้ร่วมชุมนุมก็ได้สลายตัวตามพระราชประสงค์ในตอนเช้ามืดของวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั้น แต่กลับถูกสกัดกั้นจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ อย่างไม่ทราบสาเหตุ ทำให้เกิดการปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ เลยทำให้มีผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก

จากการปะทะกันที่บริเวณดังกล่าว ก็ได้บานปลายไปตามจุดต่างๆ ประชาชนที่ไม่พอใจได้ตอบโต้ด้วยการบุกทำลายสถานที่ต่าง ๆ อันเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจเผด็จการในยุคนั้น

และเมื่อสถานการณ์ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้มีการใช้รถถัง และเฮลิคอปเตอร์ เข้ามาสลายการจลาจล ยิ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากกว่าเดิม

เหตุการณ์จอมพลถนอม และพวกลี่ภัยไปต่างประเทศ และปิดฉากการสืบทอดอนาจ ในวันที่ 14 ตุลา

ช่วงเย็นในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ด้วยเหตุการณ์ยังไม่สงบ เป็นเพราะจอมพลถนอม ยังคงนั่งประจำตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ออกแถลงการณ์กลางดึก โดนขอให้ทหารตำรวจปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถ การใช้กำลังเข้าปราบปรามเหล่านักศึกษา กลุ่มประชาชน ตามจุดต่างๆ จึงทำให้ยังคงดำเนินต่อไป

ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม ก็ได้ถูกกดดันอย่างหนัก จากผู้นำเหล่าทัพต่าง ๆ  จนทำให้ต้องยอมลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด หลังจากนั้นแล้ว จอมพลถนอม จอมพลประภาส และ พ.อ.ณรงค์ ได้เดินทางออกจากประเทศไป จึงทำให้สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายลง และปิดฉากการสืบทอดอำนาจ นับตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นเวลา 16 ปีเต็ม

14 ตุลา 4

เมื่อจอมพลถนอม กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญ ทำให้เกิดเหตุการณ์ในวันที่ 6 ตุลา พ.ศ. 2519

เหตุการณ์ 14 ตุลา ที่เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั้นมีผู้เสียชีวิต 71 ราย และบาดเจ็บ 857 ราย  หลังเหตุการณ์ในครั้งนั้น ประชาชนก็สัมผัสได้ถึงประชาธิปไตยในประเทศไทยที่กำลังเบ่งบาน แต่กลับเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพราะการกลับเข้าประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 นั้น ก็ได้กลายเป็นอีกสาเหตุสำคัญ ที่นำไปสู่การปราบปรามเหล่านักศึกษาและกลุ่มประชาชน อย่างอำมหิตเลือดเย็น ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.  2519

ปัจจุบันในทุก ๆ วันที่ 14 ตุลา จะมีพิธีวางพวงมาลา และกล่าวรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โดยการวางพวงมาลา ของประธานในพิธี และกล่าวสดุดี ถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อหน้าประวัติศาสตร์การเมืองของไทย แสดงถึงการยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย ที่เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนมีอำนาจสูงสุด มีไว้อาลัยขอสรรเสริญอุดมการณ์อันมั่นคงและวีรกรรมในเหตุการณ์วันนั้น ที่เป็นภาพที่ชัดเจนอยู่ในจิตใจของประชาชน และชวนประชาชนร่วมกันสร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่ดีงามต่อไป 

อ่านบทความ 6 ตุลา เหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดอย่างที่สุด ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไทย

อ้างอิงจาก www.google.com

สล็อตเว็บตรง

ufabetflix285

เว็บสล็อตแตกง่ายที่สุด

Recent post

Tags
6 ตุลา (1) 14 ตุลา (1) Nirvana (1) กรุงธนบุรี (1) ควีนอลิซาเบธ ที่ 2 (1) คานธี (1) คุกเขมรแดง (1) งานเทศกาลญี่ปุ่น (1) จักวรรดิโรมัน (1) จิตร ภูมิศักดิ์ (1) ดนตรี (2) บิสมาร์ค (1) บุคคลสำคัญ (11) ปประวัติศาสตร์ไทย (1) ประวัติกรุงธนบุรี (1) ประวัติ พ่อขุนรามคำแหง (1) ประวัติ พ่อขุนรามคำแหง มหาราชผู้สร้าง ศิลาจารึก (1) ประวัติรัตนโกสินทร์ (1) ประวัติศาสตร์จีน (2) ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น (1) ประวัติศาสตร์สุโขทัย (1) ประวัติศาสตร์อยุธยา (1) ประวัติศาสตร์เชียงใหม่ (1) ประวัติศาสตร์โลก (14) ประวัติศาสตร์ไทย (16) พฤษภาทมิฬ (1) พ่อขุนรามคำแหง (1) ร.ศ. 112 (1) รัตนโกสินทร์ (2) รัตนโกสินทร์ศก (1) ศิลปวัฒนธรรม (10) สงคราม (5) สงครามเย็น (2) สงครามโลกครั้งที่ 1 (1) สงครามโลกครั้งที่ 2 (1) สรุป อารยธรรมกรีก ฉบับเข้าใจง่าย (1) อารยธรรมกรีก (1) อารยธรรมจีน (1) อารยธรรมอินเดีย (1) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (1) ฮิเดะ (1) เทศกาลญี่ปุ่น (1) เปิดประวัติ อดอล์ฟฮิตเลอร์ จุดกำเนิด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (1) เหตุการณ์สำคัญ (12) โฮจิมินห์ (1)

เว็บไซต์น่าสนใจ

ร้านอาหารอร่อย
kinkubsher

แฟชั่นผู้ชาย
maleextratoday

แบบบ้าน
baan-design

แต่งงาน
weddingdistrictfrance

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
liqinfo