
เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ถูกกล่าวถึงน้อยมาก จุดเริ่มต้นของเรื่องเกิดขึ้นจากที่ หลังจากที่เกิดเหตุการณ์การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยของฝั่งของประชาชนในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั้นแล้ว ผลที่ได้คือรัฐบาลเผด็จการทหารของจอมพล ถนอม กิตติขจร ถูกพ้นจากอำนาจ และต้องเดินทางหลบหนีออกนอกประเทศไป พร้อมกับ จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร
หลังจากนั้น ตั้งแต่กลางปี 2518 ได้มีสัญญาณว่ากลุ่มเผด็จการทหารเดิมนี้ กำลังวางแผนที่ที่จะเข้ายึดอำนาจคืนอีกครั้ง และ วันที่ 19 กันยายน 2519 นายถนอม ที่ได้ถูกขับไล่ออกนอกประเทศไทย และลี้ภัยไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกานั้น ก็ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยด้วยการบวชและเข้ามาในสถานะสามเณร โดยได้อ้างต่อสาธารณชนว่าตนนั้นจะอยู่ใต้ร่มของกาสาวพัสตร์ มิได้เจตนามุ่ง แสวงหาอำนาจแต่อย่างใด และต้องการที่จะมาเยี่ยมบิดาของตนที่ใกล้ถึง แก่กรรม เมื่อสามเณรถนอมออกจากสนามบิน ก็ได้มุ่งตรงไปยังวัดบวรนิเวศ- วิหารเพื่อที่จะเข้ารับการอุปสมบท แต่มวลมหาประชาชนจำนวนมาก ยังคงไม่เชื่อ ว่าสามเณรถนอมนั้นปรารถนาที่จะความหลุดพ้นจริงๆ (แต่ท้ายที่สุด เขาก็สึก ในปีถัดมา ก่อนดำเนินการเรียกร้องให้รัฐบาลนั้นส่งคืนทรัพย์สินของตนที่ได้ถูก ยึดไปด้วยข้อหาอันทุจริต) จึงได้พากันออกมาประท้วง แต่นักกิจกรรมนั้นถูก โต้กลับอย่างรุนแรง ในวันที่ 24 กันยายน ปีนั้น พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2 ท่านได้ถูกฆ่าแขวนคอขณะที่ออกไปปิดใบประกาศถึงเรื่อง ประท้วงในการกลับ มาของนายถนอม แล้วจากนั้นในวันที่ 4 ตุลาคม นักศึกษาก็ได้ทำแสดงละคร แขวนคอเพื่อจะประท้วงถึงการใช้ความรุนแรง ซึ่งเชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐนั้นมีส่วน เกี่ยวข้อง และยังต่อต้านกับความพยายามใด ๆ ที่จะนำพาประเทศไทยกลับคืน สู่ระบบเผด็จการอีกครั้ง

มีการปลุกปั่น ก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา
ในวันถัดมานั่นเอง หนังสือพิมพ์ฝ่ายขวา “ดาวสยาม” ได้ลงเนื้อหากล่าวหา นักศึกษาที่ทำการแสดงละครแขวนคอ ว่าได้หมิ่นพระบรมโอรสาธิราช และยังพร้อมด้วยข้อหาล้มล้างสถาบันกษัตริย์ โดยภาพจากหนังสือพิมพ์ดาวสยาม (ซึ่งยังคงถกเถียงกันอยู่ว่าได้มีการตกแต่ง ภาพขึ้นมาหรือไม่ และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับอื่น ๆ นั้นได้สมรู้ร่วมคิดกับ
ดาวสยามด้วยหรือไม่) ได้ถูกนำไปทำการปลุกระดมให้กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน และกลุ่มของฝ่ายขวาอื่น ๆ เข้าทำการปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เวลา นั้นเอง มีนักศึกษาจพนวนนับพันคนกำลังชุมนุมประท้วงกันอยู่
ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดอย่างที่สุด ครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไทยเลยก็ว่าได้ เมื่อได้มีกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างตำรวจตระเวนชายแดน และกลุ่มลูกเสือ ชาวบ้านที่เป็นแกนนำได้เข้าใช้กำลังเข้าทารุณกรรม และลงมือสังหารชีวิต ของนักศึกษาที่ชุมนุมอย่างไร้ความปราณี ด้วยการยึดข้อหาที่ว่าเป็นภัยต่อ ความมั่นคงของชาติ โดยในวันนั้นมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย จำนวน 46 ราย (บางแหล่งข่าวอ้างถึงหลักร้อยราย)

ซึ่งการที่กองกำลังตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งไม่ได้ประจำการอยู่ภายใน กรุงเทพฯ นั้นได้เคลื่อนกำลังพลเข้ามาเพื่อกวาดล้างเหล่านักศึกษาในครั้งนี้ ทางด้านรัฐบาลของนายเสนีย์ ปราโมช กล่าวยืนยันว่าไม่ได้เป็นผู้ออกคำสั่ง ทั้งนี้นายเสนีย์เอง ยังอ้างว่าเขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ถึงการสังหารหมู่ ที่เกิดขึ้น โดยได้กล่าวว่า ทางรัฐบาลนั้นได้สั่งให้เจ้าหน้าที่กระทำการจับกุม ตัวนักศึกษา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสดงละครแขวนคอเพียงเท่านั้น ไม่ได้สั่งให้กำลังผลยิงสังหารนักศึกษาแต่อย่างใดเลย
เกิดการยึดอำนาจ
เหตุการณ์สังหารหมู่ที่ได้เกิดขึ้น ได้กลายเป็นข้ออ้างแก่ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ทำการประกาศยึดอำนาจ พร้อมทั้ง กล่าวประณามถึงนักการเมือง และความไร้ซึ่งประสิทธิภาพของระบอบการ ปกครองแบบประชาธิปไตย

หลังจากที่ได้ยึดอำนาจแล้ว ทางคณะรัฐประหารได้แต่งตั้งให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่เป็นอดีตผู้พิพากษาเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งในช่วงสมัยของเขานั้น ก็ได้เริ่มทำการดำเนิคดีแก่นักศึกษา จำนวน 3,000 คน ที่ได้ถูกจับกุมตัวในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่กลับกัน การพิจารณาคดีนี้ได้ กลายเป็นการเปิดเผยให้เห็นถึงความเลวร้ายของทางด้านฝ่ายรัฐบาลเสียเอง

ในท้ายที่สุด รัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ที่ได้เข้ามาแทนที่ นาย ธานินทร์ นั้น ตามมติของทางคณะปฏิวัติได้ทำการนิรโทษกรรมให้กับผู้เกี่ยวข้อง ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ 6 ตุลา จึงทำให้นักศึกษาทุกคนได้พ้นจากการ ดำเนินคดี แต่ขณะเดียวกันเอง ก็ยังทำให้ทางฝั่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลและผู้ที่มีส่วน ร่วมกับความรุนแรงครั้งนั้น ไม่ต้องเกรงกลัวว่าจะได้รับโทษนี้ในภายหลังเช่นกัน

6 ตุลา เหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดครั้งนั้น นับเป็นเหตุการณ์ที่ยังคงฝังใจประชาชนชาวไทยมาถึงปัจจุบันอย่างไม่เคยเลือน
หายไป เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้ว่าประชาธิปไตยที่เราได้มานั้น ยากลำบาก และต้องมีการสูญเสียไปมากเพียงใด เราหวังว่าทางผู้อ่านเองจะตระหนักถึง ความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้น และร่วมกันไว้อาลัยให้แก่ผู้สูญเสียในเหตุการณ์ วันนั้นด้วยกัน ณ ที่นี้ด้วย
อ่านเพิ่มเติม : 14 ตุลา 2516 “การปฏิวัติเดือนตุลาคม
อ้างอิง : https://th.wikipedia.org